วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ใช้โทรศัพท์มือถือนานๆผลจะเป็นอย่างไรระหว่างเด็กและผู้ใหญ่??



ใช้โทรศัพท์มือถือนานๆผลจะเป็นอย่างไรระหว่างเด็กและผู้ใหญ่?? http://www.phadungsak.me.engr.tu.ac.th/RCME%20NEWS/NEWS16.html ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือกลายเป็นอุปกรณ์จำเป็นสำหรับมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เว้นแม้แต่เด็กหรือผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีกระแสของสมาร์ทโฟนที่รวบรวมความสามารถของโทรศัพท์มือถือ แทบเล็ต และคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแล้ว โทรศัพท์มือถือจึงกลายเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพมาก และผูกพันอยู่กับกิจวัตรกิจกรรมของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่อยู่ตลอดเวลา หากวันใดลืมเอาโทรศัพท์มือถือมาหรือแบตเตอรี่ของโทรศัพท์หมดก็จะส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเราทันที เพราะทุกอย่างที่จำเป็นล้วนถูกบันทึกอยู่ในโทรศัพท์ ตั้งแต่เบอร์ติดต่อที่จำเป็น อีเมลล์ เฟซบุ้ค โปรแกรมแชท รวมถึงรหัสผ่านที่เราไม่อยากจำเป็นต้น ขณะนี้โทรศัพท์มือถือที่มีขายในท้องตลาดนั้นมีหลากหลายมาก แต่ละรุ่นก็มีคุณสมบัติและคุณลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ไม่ใช่ว่าโทรศัพท์รุ่นใด ๆ ก็จะเหมือนกันหมด โดยคุณสมบัติที่สำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานโดยตรงคือ ความถี่และกำลังส่งซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสมองได้ สำหรับประเทศไทย ความถี่ของคลื่นโทรศัพท์มือถือที่ใช้ในปัจจุบันสำหรับประเทศไทยอยู่ที่ 850/ 900/ 1800/ 1900/ 2100 MHz แม้จะใช้โทรศัพท์ในรุ่นและยี่ห้อเดียวกันแต่หากใช้งานในย่านความถี่ที่แตกต่างกันแล้วผลกระทบที่มีต่อสมองย่อมแตกต่างกันไปด้วย เราจึงจำเป็นต้องมาศึกษาเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับผลกระทบของคลื่นโทรศัพท์มือถือที่มีต่อสมองกันให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ด้วยเหตุดังกล่าว ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช ดร.ธีรพจน์ เวศพันธุ์ และกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรี คือ นายวัจน์กร คุณอมรเลิศ นางสาวจันทกานต์ นูรักษาและนายอภิชาติ แซ่ซือ จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้ร่วมกันวิจัยโครงการ “การจำลองโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเพื่อวิเคราะห์ค่าอัตราการดูดกลืนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและการถ่ายเทความร้อนในศีรษะมนุษย์ขณะใช้โทรศัพท์มือถือ” ภายใต้เงินทุนสนับสนุนจาก ทุนวุฒิเมธีวิจัย และทุนพัฒนาศักยภาพอาจารย์รุ่นใหม่จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และทุนโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (NRU) โปรแกรมที่ใช้ในการจำลองการกระจายตัวของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า รวมถึงความร้อนที่เกิดขึ้นบริเวณสมองเพื่อทำการศึกษาผลกระทบจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้งานที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่ที่สถานการณ์แตกต่างกัน ระยะเวลาที่ต่างกัน ที่ความถี่ต่างๆ จนประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีและเป็นที่ยอมรับทั้งในเวทีวิจัยทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ ที่ผ่านมามีผลงานวิจัยทางการแพทย์จำนวนมากได้ระบุว่าการใช้โทรศัพท์มือถือมีความเชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็งในสมองและความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวหากผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือเป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี แต่ก็เป็นเพียงงานวิจัยในเชิงคลินิกเท่านั้นแต่ยังมีผลงานวิจัยในเชิงกายภาพที่เป็นรูปธรรมจำนวนน้อยมากที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่แท้จริงที่เกิดกับผู้ใช้งานโทรศัพท์ ผลงานนี้จึงเป็นการเติมเต็มในส่วนการศึกษาผลกระทบในเชิงกายภาพให้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ผลงานนี้มีจุดเด่นที่แตกต่างจากงานที่ผ่านมาคือสามารถคำนวณความร้อนที่เกิดขึ้นจากโทรศัพท์มือถือที่บริเวณศีรษะและสมองจากการดูดซับพลังงานของคลื่นไมโครเวฟที่แพร่ออกมาจากเสาอากาศของโทรศัพท์ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองอย่างเฉียบพลันโดยไม่ต้องรอผลในระยะยาว เช่น อาจเกิดการปวดศีรษะ หน้ามืด เสียการทรงตัว และส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ ได้ทันทีขณะใช้งานโทรศัพท์ หากโทรศัพท์เครื่องนั้นๆ ไม่ได้มาตรฐาน เช่น มีค่ากำลังส่งมากเกินมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนด ซึ่งจากการศึกษาโดยใช้โปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้นพบว่าการใช้โทรศัพท์รุ่นที่มีความถี่ที่ต่ำกว่าคลื่นจะส่งผลกระทบต่อสมองส่วนกลางได้มากกว่าโทรศัพท์มี่มีความถี่สูงเนื่องจากคลื่นความถี่ต่ำจะสามารถทะลุทะลวงเข้าไปในศีรษะได้ลึกมากกว่านั่นเอง ในทางตรงกันข้ามสำหรับคลื่นความถี่ที่สูงแม้ว่าคลื่นจะไม่สามารถทะลุทะลวงเข้าสู่สมองส่วนกลางได้มากนักแต่กลับจะส่งผลมากกับบริเวณสมองส่วนนอกฝั่งที่อยู่ติดกับโทรศัพท์ได้มากกว่าการใช้งานโทรศัพท์ในย่านความถี่ที่ต่ำ สำหรับกำลังส่งของโทรศัพท์ถ้าใช้กำลังส่งที่มีค่าไม่เกินมาตรฐานก็จะมีผลกระทบต่อสมองไม่มากนัก จากการศึกษาพบว่าสำหรับการใช้งานโทรศัพท์มือถือที่มีกำลังส่งมาตรฐานที่ 1.5 วัตต์เป็นระยะเวลาต่อเนื่องไม่เกิน 30 นาที อุณหภูมิของสมองส่วนกลางจะมีค่าเพิ่มขึ้นไม่เกิน 0.1 องศาเซลเซียส ซึ่งยังถือว่าต่ำกว่าระดับอุณหภูมิที่จะส่งผลผลกระทบต่อร่างกายที่ต้องมีค่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในระดับ 0.2-0.3 องศาเซลเซียสขึ้นไป แต่หากโทรศัพท์ที่ใช้งานมีกำลังส่งมากขึ้น แม้ว่าจะสามารถสื่อสารใช้ชัดเจนแต่ก็อาจส่งผลให้สมองมีการตอบสนองเชิงอุณหภูมิต่อคลื่นโทรศัพท์มากขึ้นตามกำลังส่งเช่นกัน สำหรับผู้ใช้งานที่เป็นเด็ก จากการศึกษาพบว่าคลื่นโทรศัพท์สามารถทะลุทะลวงเข้าไปสู่สมองส่วนกลางได้มากและอาจได้รับผลกระทบได้มากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากเด็กมีขนาดศีรษะที่เล็ก กะโหลกบางกว่า และเนื้อเยื่อสามารถดูดคลื่นไว้ได้มากกว่า โปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้นนี้ยังได้ทำการยืนยันผลความถูกต้องกับค่าที่วัดได้จากการใช้กล้องอินฟราเรดที่ใช้ในการวัดความร้อนบริเวณผิวของผู้ใช้งานโทรศัพท์อีกด้วย ดังนั้นควรแนะนำบุตรหลานให้หลีกเลี่ยงการใช้งานโทรศัพท์ที่ไม่จำเป็น อาจใช้งานระบบแฮนด์ฟรีหรือใช้การส่งข้อความแทน ซึ่งผู้วิจัยก็มีข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือดังนี้ 1.หลีกเลี่ยงการใช้งานโดยไม่จำเป็น หากต้องใช้ก็ใช้ให้น้อยที่สุด 2.หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ในที่แคบ เช่น ในรถยนต์ เนื่องจากคลื่นจะมีการสะท้อนเข้าสู่ร่างกายของผู้ใช้งานได้เป็นปริมาณมากขึ้น 3.เวลานอนพยายามอย่าวางโทรศัพท์มือถือไว้ใกล้ตัว 4. หากต้องพกพาโทรศัพท์มือถือ พยายามหาซองใส่หรือใส่ในกระเป๋าเพื่อลดการแพร่ของคลื่นสู่ร่างกาย 5. พยายามใช้อุปกรณ์เสริม เช่น Small talk, Bluetooth หรือ Hand free อย่าพยายามพูดโทรศัพท์โดยยกมาแนบกับหูโดยตรง ผลงานนี้เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางทั้งในแวดวงอุตสาหกรรมการสื่อสารและวงการแพทย์ เนื่องจากเป็นงานแรกของประเทศไทยและเป็นงานแรก ๆ ของโลกที่ได้พิจาณาถึงผลของความร้อนที่เกิดขึ้นในบริเวณสมองจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นผลทางกายภาพที่แท้จริงที่เกิดจากอันตรกิริยาระหว่างคลื่นของโทรศัพท์มือถือต่อเนื้อเยื่อสมองที่จะเชื่อมโยงไปสู่การวิจัยในทางการแพทย์ที่จะศึกษาถึงผลในเชิงชีววิทยาที่มีต่อเซลล์สมองต่อไป และเชื่อมโยงไปสู่ภาคอุตสาหกรรมการสื่อสารที่จะนำไปใช้เป็นมาตรการในการออกแบบโทรศัพท์ให้มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ผลงานนี้ยังได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการชั้นนำของโลกหลายรายการและล่าสุดยังได้รับรางวัล Special Prize จาก จากสมาคมนักประดิษฐ์เกาหลี (KIPA-Korea Invention Promotion Association)ที่มอบพิเศษให้กับนักประดิษฐ์ที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดเพียงสองรางวัล ในงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2556 จัดโดยสภาวิจัยแห่งชาติ ระหว่างวัน ที่ 2 – 5 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ผู้สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดบทความวิจัยฉบับเต็มได้ที่ http://www.phadungsak.me.engr.tu.ac.th/downloads/asme%202012_3.pdf

อ้างอิง https://www.facebook.com/media/set/?set=a.291274897664770.65492.258391074286486&type=3

ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช วิศวะ มธ. เผยงานวิจัยผลกระทบจากคลื่นมือถือต่อสมองมนุษย์

ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช วิศวะ มธ. เผยงานวิจัยผลกระทบจากคลื่นมือถือต่อสมองมนุษย์
เผยวิจัยพบ มือถือปล่อยคลื่นไมโครเวฟออกมา 1 วัตต์ หากใช้แนบหูนาน 30 นาที ก้านสมองจะร้อนขึ้น 1-1.5 องศาเซลเซียส เด็กโดนแรงกว่า
ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ จึงแนะว่าให้ใช้มือถือแต่ละครั้งอย่านาน ใช้ small talk ก็น่าจะดีกว่า และเลี่ยงการใช้ที่แคบ เพื่อไม่ให้คลื่นที่โดนเข้มเกินไป ท่านเล่าว่าเตาอบไมโครเวฟกำลังเริ่มต้น 800 วัตต์ ส่วนมือถือซึ่งปล่อยคลื่นแบบเดียวกันกำลังแรง 1 วัตต์ แต่มือถือรุ่นเก่าๆ คลื่นแรงมาก
ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ ยืนยันว่า แม้วิจัยพบผลจากมือถือดังกล่าว แต่ก็ยังใช้ตามปกติ โดยเน้นไม่ให้มาก นาน หรือใกล้เกินไป 10-15 นาทีอย่างมาก
ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ ได้รับทุนวิจัยมาจาก สกว.(สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) และกำลังอยู่ระหว่างวิจัยผลกระทบจาก Wi-Fi ด้วย รอติดตามกันไม่เกิน 1 ปี 

รายละเอียด

การจำลองโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเพื่อวิเคราะห์ค่าอัตราการดูดกลืนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

และการถ่ายเทความร้อนในศีรษะมนุษย์ขณะใช้โทรศัพท์มือถือ 

(ผลงานรางวัล Special Prize จากสมาคมนักประดิษฐ์เกาหลี: KIPA)
 

ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือกลายเป็นอุปกรณ์จำเป็นสำหรับมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เว้นแม้แต่เด็กหรือผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีกระแสของสมาร์ทโฟนที่รวบรวมความสามารถของโทรศัพท์มือถือ แทบเล็ต และคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแล้ว โทรศัพท์มือถือจึงกลายเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพมาก และผูกพันอยู่กับกิจวัตรกิจกรรมของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่อยู่ตลอดเวลา หากวันใดลืมเอาโทรศัพท์มือถือมาหรือแบตเตอรี่ของโทรศัพท์หมดก็จะส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเราทันที เพราะทุกอย่างที่จำเป็นล้วนถูกบันทึกอยู่ในโทรศัพท์ ตั้งแต่เบอร์ติดต่อที่จำเป็น อีเมลล์ เฟซบุ้ค โปรแกรมแชท รวมถึงรหัสผ่านที่เราไม่อยากจำเป็นต้น 
ขณะนี้โทรศัพท์มือถือที่มีขายในท้องตลาดนั้นมีหลากหลายมาก แต่ละรุ่นก็มีคุณสมบัติและคุณลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ไม่ใช่ว่าโทรศัพท์รุ่นใด ๆ ก็จะเหมือนกันหมด โดยคุณสมบัติที่สำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานโดยตรงคือ ความถี่และกำลังส่งซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสมองได้ สำหรับประเทศไทย ความถี่ของคลื่นโทรศัพท์มือถือที่ใช้ในปัจจุบันสำหรับประเทศไทยอยู่ที่ 850/ 900/ 1800/ 1900/ 2100 MHz แม้จะใช้โทรศัพท์ในรุ่นและยี่ห้อเดียวกันแต่หากใช้งานในย่านความถี่ที่แตกต่างกันแล้วผลกระทบที่มีต่อสมองย่อมแตกต่างกันไปด้วย เราจึงจำเป็นต้องมาศึกษาเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับผลกระทบของคลื่นโทรศัพท์มือถือที่มีต่อสมองกันให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
ด้วยเหตุดังกล่าว ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2554 ดร.ธีรพจน์ เวศพันธุ์ และกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรี คือ นายวัจน์กร คุณอมรเลิศ นางสาวจันทกานต์ นูรักษาและนายอภิชาติ  แซ่ซือ จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้ร่วมกันพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ในการจำลองการกระจายตัวของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า รวมถึงความร้อนที่เกิดขึ้นบริเวณสมองเพื่อทำการศึกษาผลกระทบจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้งานที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่ที่สถานการณ์แตกต่างกัน ระยะเวลาที่ต่างกัน ที่ความถี่ต่างๆ จนประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีและเป็นที่ยอมรับทั้งในเวทีวิจัยทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ

(ผลงานของคณะผู้วิจัยที่ตีพิมพ์ใน  Int. J. Heat Mass Transfer, 2012 )


ที่ผ่านมามีผลงานวิจัยทางการแพทย์จำนวนมากได้ระบุว่าการใช้โทรศัพท์มือถือมีความเชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็งในสมองและความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวหากผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือเป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี แต่ก็เป็นเพียงงานวิจัยในเชิงคลินิกเท่านั้นแต่ยังมีผลงานวิจัยในเชิงกายภาพที่เป็นรูปธรรมจำนวนน้อยมากที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่แท้จริงที่เกิดกับผู้ใช้งานโทรศัพท์ ผลงานนี้จึงเป็นการเติมเต็มในส่วนการศึกษาผลกระทบในเชิงกายภาพให้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น 

 

     

(ผลงานของคณะผู้วิจัยที่ตีพิมพ์ใน  ASME J. Heat Transfer, 2012)


ผลงานนี้มีจุดเด่นที่แตกต่างจากงานที่ผ่านมาคือสามารถคำนวณความร้อนที่เกิดขึ้นจากโทรศัพท์มือถือที่บริเวณศีรษะและสมองจากการดูดซับพลังงานของคลื่นไมโครเวฟที่แพร่ออกมาจากเสาอากาศของโทรศัพท์ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองอย่างเฉียบพลันโดยไม่ต้องรอผลในระยะยาว เช่น อาจเกิดการปวดศีรษะ หน้ามืด เสียการทรงตัว และส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ ได้ทันทีขณะใช้งานโทรศัพท์ หากโทรศัพท์เครื่องนั้นๆ ไม่ได้มาตรฐาน เช่น มีค่ากำลังส่งมากเกินมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนด 
ซึ่งจากการศึกษาโดยใช้โปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้นพบว่าการใช้โทรศัพท์รุ่นที่มีความถี่ที่ต่ำกว่าคลื่นจะส่งผลกระทบต่อสมองส่วนกลางได้มากกว่าโทรศัพท์มี่มีความถี่สูงเนื่องจากคลื่นความถี่ต่ำจะสามารถทะลุทะลวงเข้าไปในศีรษะได้ลึกมากกว่านั่นเอง ในทางตรงกันข้ามสำหรับคลื่นความถี่ที่สูงแม้ว่าคลื่นจะไม่สามารถทะลุทะลวงเข้าสู่สมองส่วนกลางได้มากนักแต่กลับจะส่งผลมากกับบริเวณสมองส่วนนอกฝั่งที่อยู่ติดกับโทรศัพท์ได้มากกว่าการใช้งานโทรศัพท์ในย่านความถี่ที่ต่ำ สำหรับกำลังส่งของโทรศัพท์ถ้าใช้กำลังส่งที่มีค่าไม่เกินมาตรฐานก็จะมีผลกระทบต่อสมองไม่มากนัก จากการศึกษาพบว่าสำหรับการใช้งานโทรศัพท์มือถือที่มีกำลังส่งมาตรฐานที่ 1.5 วัตต์เป็นระยะเวลาต่อเนื่องไม่เกิน 30 นาที อุณหภูมิของสมองส่วนกลางจะมีค่าเพิ่มขึ้นไม่เกิน 0.1 องศาเซลเซียส ซึ่งยังถือว่าต่ำกว่าระดับอุณหภูมิที่จะส่งผลผลกระทบต่อร่างกายที่ต้องมีค่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในระดับ 0.2-0.3 องศาเซลเซียสขึ้นไป แต่หากโทรศัพท์ที่ใช้งานมีกำลังส่งมากขึ้น แม้ว่าจะสามารถสื่อสารใช้ชัดเจนแต่ก็อาจส่งผลให้สมองมีการตอบสนองเชิงอุณหภูมิต่อคลื่นโทรศัพท์มากขึ้นตามกำลังส่งเช่นกัน สำหรับผู้ใช้งานที่เป็นเด็ก จากการศึกษาพบว่าคลื่นโทรศัพท์สามารถทะลุทะลวงเข้าไปสู่สมองส่วนกลางได้มากและอาจได้รับผลกระทบได้มากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากเด็กมีขนาดศีรษะที่เล็ก กะโหลกบางกว่า และเนื้อเยื่อสามารถดูดคลื่นไว้ได้มากกว่า โปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้นนี้ยังได้ทำการยืนยันผลความถูกต้องกับค่าที่วัดได้จากการใช้กล้องอินฟราเรดที่ใช้ในการวัดความร้อนบริเวณผิวของผู้ใช้งานโทรศัพท์อีกด้วย 
ดังนั้นควรแนะนำบุตรหลานให้หลีกเลี่ยงการใช้งานโทรศัพท์ที่ไม่จำเป็น อาจใช้งานระบบแฮนด์ฟรีหรือใช้การส่งข้อความแทน ซึ่งผู้วิจัยก็มีข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือดังนี้ 
1.หลีกเลี่ยงการใช้งานโดยไม่จำเป็น หากต้องใช้ก็ใช้ให้น้อยที่สุด 
2.หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ในที่แคบ เช่น ในรถยนต์ เนื่องจากคลื่นจะมีการสะท้อนเข้าสู่ร่างกายของผู้ใช้งานได้เป็นปริมาณมากขึ้น 
3.เวลานอนพยายามอย่าวางโทรศัพท์มือถือไว้ใกล้ตัว 
4. หากต้องพกพาโทรศัพท์มือถือ พยายามหาซองใส่หรือใส่ในกระเป๋าเพื่อลดการแพร่ของคลื่นสู่ร่างกาย 
5. พยายามใช้อุปกรณ์เสริม เช่น Small talk, Bluetooth หรือ Hand free อย่าพยายามพูดโทรศัพท์โดยยกมาแนบกับหูโดยตรง
ผลงานนี้เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางทั้งในแวดวงอุตสาหกรรมการสื่อสารและวงการแพทย์ เนื่องจากเป็นงานแรกของประเทศไทยและเป็นงานแรก ๆ ของโลกที่ได้พิจาณาถึงผลของความร้อนที่เกิดขึ้นในบริเวณสมองจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นผลทางกายภาพที่แท้จริงที่เกิดจากอันตรกิริยาระหว่างคลื่นของโทรศัพท์มือถือต่อเนื้อเยื่อสมองที่จะเชื่อมโยงไปสู่การวิจัยในทางการแพทย์ที่จะศึกษาถึงผลในเชิงชีววิทยาที่มีต่อเซลล์สมองต่อไป และเชื่อมโยงไปสู่ภาคอุตสาหกรรมการสื่อสารที่จะนำไปใช้เป็นมาตรการในการออกแบบโทรศัพท์ให้มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ผลงานนี้ยังได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการชั้นนำของโลกหลายรายการและล่าสุดยังได้รับรางวัล Special Prize จาก จากสมาคมนักประดิษฐ์เกาหลี (KIPA-Korea Invention Promotion Association)ที่มอบพิเศษให้กับนักประดิษฐ์ที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดเพียงสองรางวัล ในงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2556  จัดโดยสภาวิจัยแห่งชาติ ระหว่างวัน ที่ 2 – 5 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

 


( President ของ KIPA และ รองเลขาธิการ วช.)

คณะผู้วิจัยขอขอบคุณทุนวุฒิเมธีวิจัย และทุนพัฒนาศักยภาพอาจารย์รุ่นใหม่จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)-มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย และทุนโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (NRU) ที่ให้การสนับสนุนการวิจัยในครั้งนี้ สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ติดต่อได้ที่  ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช หรือเข้าไปดูรายละเอียดบทความวิจัยฉบับเต็มได้ที่นี่


อ้างอิง และ download งานวิจัยได้ที่ http://www.phadungsak.me.engr.tu.ac.th/RCME%20NEWS/NEWS16.html

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

งานเสวนาวิชาการ NBTC Public Forum ครั้งที่ 2 เรื่อง เสาส่งสัญญาน

อ่านต่อและ download เอกสารได้ที่

http://nbtc-public-forum.blogspot.com/

การบรรยาย เรื่อง “เสาสัญญาณการสื่อสาร: ความปลอดภัยหรืออันตรายสำหรับผู้บริโภค??????”

 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556 กสทช.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ได้เดินทางไป บรรยาย เรื่อง “สิทธิของผู้บริโภคที่ต้องรู้ :ความปลอดภัยด้านสุขภาพจากการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายในยุค3G” ในเวทีสาธารณะภาคเหนือ เรื่อง “เสาสัญญาณการสื่อสาร: ความปลอดภัยหรืออันตรายสำหรับผู้บริโภค??????” ณ หอประชุมโรงเรียนเชียงคำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จัดโดยเครือข่ายผู้บริโภค จ.พะเยาร่วมกับมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา

ดูภาพบรรยากาศในงานได้ที่

http://www.nbtc.go.th/wps/portal/NTC/!ut/p/c5/hY7LDoIwEEU_aa6FUlgCVSgRxNQosCGNIUjCw4Ux8e-FuHGDzizPuTOXKpp3NM-uNY9uGk1PBVVObR-E5HnElYWTByW1dhOVWkyLmZdOHUZ-bIs9gExxMHmWmdp6QMD-pC_Lvy8j2bg7qDDVbh5sZgEf_uv-wrEyPiiLp6Ghkiqx2oNxKvumNdcX3YcCXX47vgGhYR3h/dl3/d3/L2dJQSEvUUt3QS9ZQnZ3LzZfNE83RDVQRzVJMzBUOTBJRFNTOEpJTTNJUDc!/?WCM_GLOBAL_CONTEXT=/wps/wcm/connect/library+ntc/internetsite/04newsactivi/0401pubnews/040102news/news_pub_detail/8fd55a80400896618b92cfabcb3fbcab

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คลื่น WiFi ส่งผลให้ DNA พืชมีปัญหา !!!

         การทดลองทางวิทยาศาสตร์โดยเด็กผู้หญิงมัธยมต้น 5 คนของโรงเรียน Hjallerup School ใน North Jutland ในเดนมาร์ก โดยทำการเพาะเมล็ดผัก garden cress ในสองถาด และแยกถาดทั้งสองอยู่คนละห้องแต่ปรับอุณหภูมิให้เท่ากัน ได้รับน้ำและแสงแดดในปริมาณเท่าๆกันเป็นเวลา 12 วัน

          ถาดแรกนำไว้ในห้องที่ไม่มีคลื่น Wifi ใดๆ ปรากฏว่าเมล็ดผักเติบโตตามปกติ 
ถาดที่สองนำถาดไปวางใกล้ๆกับ Wifi router 2 เครื่อง ปรากฏว่าเมล็ดผักแทบไม่เติบโต รากไม่งอก

         โดยการทดลองเรื่องดังกล่าวเริ่มต้นมาจากการตั้งสมุตติฐาน จากการสังเกตเห็นว่าถ้าหากพวกเขาหลับไปกับโทรศัพท์มือถือของพวกเขา ซึ่งโทรศัพท์มือถืออยู่ใกล้ศีรษะของพวกเขาในเวลากลางคืนพวกเขามักจะมีสมาธิสั้นเมื่ออยู่ที่โรงเรียนในวันถัดไป

แหล่งข้อมูล:
http://www.mnn.com/health/healthy-spaces/blogs/student-science-experiment-finds-plants-wont-grow-near-wi-fi-router

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีผลต่อ DNA จริงหรือไม่

นร.อิสราเอล-ไทย
พบสัญญาณไวไฟ
มีผลต่อ “ดีเอ็นเอ”
ทั้งในพืชและสัตว์
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค  กล่าวระหว่างการร่วมเสวนากับเครือข่ายภาคประชาชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  ร่วมกับ คณะวิทยาการสื่อสารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี และ เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ ที่ จ.ปัตตานี ว่า ผู้บริโภคในยุคนี้จะต้องเรียนรู้เทคโนโลยีและบริการ เพราะต้องเท่าทัน เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
ส่วนเรื่องความเป็นอันตรายต่อสุขภาพนั้น เท่าที่ทราบนักเรียนที่อิสราเอลได้ทดลองปลูกเมล็ดผัก 2 แปลง โดยแปลงหนึ่งมีระบบโครงข่ายไร้สาย(ไวไฟ)มาติดตั้ง กับอีกแปลงหนึ่งไม่มีไวไฟ พบว่า แปลงที่ปลูกพร้อมสัญญาณไวไฟนั้นเมล็ดผักไม่งอก ไม่เติบโต
นพ.ประวิทย์ กล่าวว่า ในประเทศ  ทางโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.ตรัง ได้ทำการศึกษาโดยเอาเร้าเตอร์ไวไฟ เปิดไว้แล้วทดลองเลี้ยงแมลงหวี่ ระหว่างแมลงหวี่ที่เลี้ยงมีสัญญาณไวไฟ กับแมลงหวี่ที่ไม่มีไวไฟ ผลการศึกษาของเด็กนักเรียนพบว่า  แมลงหวี่รุ่นที่ 4 มีปีกเล็กๆเพิ่มขึ้นมาอีก 4 ปีก ที่เรียกว่าผ่าเหล่า
“ปีกที่เคยมีอยู่เท่านี้ ก็งอกมาเพิ่ม ปลอดภัยหรือไม่ก็ต้องคิดเอา มันมีผลต่อดีเอ็นเอ ไม่ว่าพืช หรือมนุษย์  ซึ่งผู้ใช้บริการต้องระมัดระวัง และรวมไปถึงสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งไม่ควรนำไปไว้ใกล้หัวนอนตัวเอง”  นายประวิทย์ กล่าว
ทั้งนี้ผลการศึกษาของนักเรียนกลุ่มนี้ได้นำเสนอในการประกวด โครงการวิทยาศาสตร์ประจำปี2555 ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) ด้วย
 
 
แหล่งข้อมูล :