วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ใช้โทรศัพท์มือถือนานๆผลจะเป็นอย่างไรระหว่างเด็กและผู้ใหญ่??



ใช้โทรศัพท์มือถือนานๆผลจะเป็นอย่างไรระหว่างเด็กและผู้ใหญ่?? http://www.phadungsak.me.engr.tu.ac.th/RCME%20NEWS/NEWS16.html ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือกลายเป็นอุปกรณ์จำเป็นสำหรับมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เว้นแม้แต่เด็กหรือผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีกระแสของสมาร์ทโฟนที่รวบรวมความสามารถของโทรศัพท์มือถือ แทบเล็ต และคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแล้ว โทรศัพท์มือถือจึงกลายเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพมาก และผูกพันอยู่กับกิจวัตรกิจกรรมของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่อยู่ตลอดเวลา หากวันใดลืมเอาโทรศัพท์มือถือมาหรือแบตเตอรี่ของโทรศัพท์หมดก็จะส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเราทันที เพราะทุกอย่างที่จำเป็นล้วนถูกบันทึกอยู่ในโทรศัพท์ ตั้งแต่เบอร์ติดต่อที่จำเป็น อีเมลล์ เฟซบุ้ค โปรแกรมแชท รวมถึงรหัสผ่านที่เราไม่อยากจำเป็นต้น ขณะนี้โทรศัพท์มือถือที่มีขายในท้องตลาดนั้นมีหลากหลายมาก แต่ละรุ่นก็มีคุณสมบัติและคุณลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ไม่ใช่ว่าโทรศัพท์รุ่นใด ๆ ก็จะเหมือนกันหมด โดยคุณสมบัติที่สำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานโดยตรงคือ ความถี่และกำลังส่งซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสมองได้ สำหรับประเทศไทย ความถี่ของคลื่นโทรศัพท์มือถือที่ใช้ในปัจจุบันสำหรับประเทศไทยอยู่ที่ 850/ 900/ 1800/ 1900/ 2100 MHz แม้จะใช้โทรศัพท์ในรุ่นและยี่ห้อเดียวกันแต่หากใช้งานในย่านความถี่ที่แตกต่างกันแล้วผลกระทบที่มีต่อสมองย่อมแตกต่างกันไปด้วย เราจึงจำเป็นต้องมาศึกษาเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับผลกระทบของคลื่นโทรศัพท์มือถือที่มีต่อสมองกันให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ด้วยเหตุดังกล่าว ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช ดร.ธีรพจน์ เวศพันธุ์ และกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรี คือ นายวัจน์กร คุณอมรเลิศ นางสาวจันทกานต์ นูรักษาและนายอภิชาติ แซ่ซือ จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้ร่วมกันวิจัยโครงการ “การจำลองโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเพื่อวิเคราะห์ค่าอัตราการดูดกลืนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและการถ่ายเทความร้อนในศีรษะมนุษย์ขณะใช้โทรศัพท์มือถือ” ภายใต้เงินทุนสนับสนุนจาก ทุนวุฒิเมธีวิจัย และทุนพัฒนาศักยภาพอาจารย์รุ่นใหม่จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และทุนโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (NRU) โปรแกรมที่ใช้ในการจำลองการกระจายตัวของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า รวมถึงความร้อนที่เกิดขึ้นบริเวณสมองเพื่อทำการศึกษาผลกระทบจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้งานที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่ที่สถานการณ์แตกต่างกัน ระยะเวลาที่ต่างกัน ที่ความถี่ต่างๆ จนประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีและเป็นที่ยอมรับทั้งในเวทีวิจัยทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ ที่ผ่านมามีผลงานวิจัยทางการแพทย์จำนวนมากได้ระบุว่าการใช้โทรศัพท์มือถือมีความเชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็งในสมองและความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวหากผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือเป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี แต่ก็เป็นเพียงงานวิจัยในเชิงคลินิกเท่านั้นแต่ยังมีผลงานวิจัยในเชิงกายภาพที่เป็นรูปธรรมจำนวนน้อยมากที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่แท้จริงที่เกิดกับผู้ใช้งานโทรศัพท์ ผลงานนี้จึงเป็นการเติมเต็มในส่วนการศึกษาผลกระทบในเชิงกายภาพให้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ผลงานนี้มีจุดเด่นที่แตกต่างจากงานที่ผ่านมาคือสามารถคำนวณความร้อนที่เกิดขึ้นจากโทรศัพท์มือถือที่บริเวณศีรษะและสมองจากการดูดซับพลังงานของคลื่นไมโครเวฟที่แพร่ออกมาจากเสาอากาศของโทรศัพท์ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองอย่างเฉียบพลันโดยไม่ต้องรอผลในระยะยาว เช่น อาจเกิดการปวดศีรษะ หน้ามืด เสียการทรงตัว และส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ ได้ทันทีขณะใช้งานโทรศัพท์ หากโทรศัพท์เครื่องนั้นๆ ไม่ได้มาตรฐาน เช่น มีค่ากำลังส่งมากเกินมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนด ซึ่งจากการศึกษาโดยใช้โปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้นพบว่าการใช้โทรศัพท์รุ่นที่มีความถี่ที่ต่ำกว่าคลื่นจะส่งผลกระทบต่อสมองส่วนกลางได้มากกว่าโทรศัพท์มี่มีความถี่สูงเนื่องจากคลื่นความถี่ต่ำจะสามารถทะลุทะลวงเข้าไปในศีรษะได้ลึกมากกว่านั่นเอง ในทางตรงกันข้ามสำหรับคลื่นความถี่ที่สูงแม้ว่าคลื่นจะไม่สามารถทะลุทะลวงเข้าสู่สมองส่วนกลางได้มากนักแต่กลับจะส่งผลมากกับบริเวณสมองส่วนนอกฝั่งที่อยู่ติดกับโทรศัพท์ได้มากกว่าการใช้งานโทรศัพท์ในย่านความถี่ที่ต่ำ สำหรับกำลังส่งของโทรศัพท์ถ้าใช้กำลังส่งที่มีค่าไม่เกินมาตรฐานก็จะมีผลกระทบต่อสมองไม่มากนัก จากการศึกษาพบว่าสำหรับการใช้งานโทรศัพท์มือถือที่มีกำลังส่งมาตรฐานที่ 1.5 วัตต์เป็นระยะเวลาต่อเนื่องไม่เกิน 30 นาที อุณหภูมิของสมองส่วนกลางจะมีค่าเพิ่มขึ้นไม่เกิน 0.1 องศาเซลเซียส ซึ่งยังถือว่าต่ำกว่าระดับอุณหภูมิที่จะส่งผลผลกระทบต่อร่างกายที่ต้องมีค่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในระดับ 0.2-0.3 องศาเซลเซียสขึ้นไป แต่หากโทรศัพท์ที่ใช้งานมีกำลังส่งมากขึ้น แม้ว่าจะสามารถสื่อสารใช้ชัดเจนแต่ก็อาจส่งผลให้สมองมีการตอบสนองเชิงอุณหภูมิต่อคลื่นโทรศัพท์มากขึ้นตามกำลังส่งเช่นกัน สำหรับผู้ใช้งานที่เป็นเด็ก จากการศึกษาพบว่าคลื่นโทรศัพท์สามารถทะลุทะลวงเข้าไปสู่สมองส่วนกลางได้มากและอาจได้รับผลกระทบได้มากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากเด็กมีขนาดศีรษะที่เล็ก กะโหลกบางกว่า และเนื้อเยื่อสามารถดูดคลื่นไว้ได้มากกว่า โปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้นนี้ยังได้ทำการยืนยันผลความถูกต้องกับค่าที่วัดได้จากการใช้กล้องอินฟราเรดที่ใช้ในการวัดความร้อนบริเวณผิวของผู้ใช้งานโทรศัพท์อีกด้วย ดังนั้นควรแนะนำบุตรหลานให้หลีกเลี่ยงการใช้งานโทรศัพท์ที่ไม่จำเป็น อาจใช้งานระบบแฮนด์ฟรีหรือใช้การส่งข้อความแทน ซึ่งผู้วิจัยก็มีข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือดังนี้ 1.หลีกเลี่ยงการใช้งานโดยไม่จำเป็น หากต้องใช้ก็ใช้ให้น้อยที่สุด 2.หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ในที่แคบ เช่น ในรถยนต์ เนื่องจากคลื่นจะมีการสะท้อนเข้าสู่ร่างกายของผู้ใช้งานได้เป็นปริมาณมากขึ้น 3.เวลานอนพยายามอย่าวางโทรศัพท์มือถือไว้ใกล้ตัว 4. หากต้องพกพาโทรศัพท์มือถือ พยายามหาซองใส่หรือใส่ในกระเป๋าเพื่อลดการแพร่ของคลื่นสู่ร่างกาย 5. พยายามใช้อุปกรณ์เสริม เช่น Small talk, Bluetooth หรือ Hand free อย่าพยายามพูดโทรศัพท์โดยยกมาแนบกับหูโดยตรง ผลงานนี้เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางทั้งในแวดวงอุตสาหกรรมการสื่อสารและวงการแพทย์ เนื่องจากเป็นงานแรกของประเทศไทยและเป็นงานแรก ๆ ของโลกที่ได้พิจาณาถึงผลของความร้อนที่เกิดขึ้นในบริเวณสมองจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นผลทางกายภาพที่แท้จริงที่เกิดจากอันตรกิริยาระหว่างคลื่นของโทรศัพท์มือถือต่อเนื้อเยื่อสมองที่จะเชื่อมโยงไปสู่การวิจัยในทางการแพทย์ที่จะศึกษาถึงผลในเชิงชีววิทยาที่มีต่อเซลล์สมองต่อไป และเชื่อมโยงไปสู่ภาคอุตสาหกรรมการสื่อสารที่จะนำไปใช้เป็นมาตรการในการออกแบบโทรศัพท์ให้มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ผลงานนี้ยังได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการชั้นนำของโลกหลายรายการและล่าสุดยังได้รับรางวัล Special Prize จาก จากสมาคมนักประดิษฐ์เกาหลี (KIPA-Korea Invention Promotion Association)ที่มอบพิเศษให้กับนักประดิษฐ์ที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดเพียงสองรางวัล ในงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2556 จัดโดยสภาวิจัยแห่งชาติ ระหว่างวัน ที่ 2 – 5 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ผู้สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดบทความวิจัยฉบับเต็มได้ที่ http://www.phadungsak.me.engr.tu.ac.th/downloads/asme%202012_3.pdf

อ้างอิง https://www.facebook.com/media/set/?set=a.291274897664770.65492.258391074286486&type=3

ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช วิศวะ มธ. เผยงานวิจัยผลกระทบจากคลื่นมือถือต่อสมองมนุษย์

ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช วิศวะ มธ. เผยงานวิจัยผลกระทบจากคลื่นมือถือต่อสมองมนุษย์
เผยวิจัยพบ มือถือปล่อยคลื่นไมโครเวฟออกมา 1 วัตต์ หากใช้แนบหูนาน 30 นาที ก้านสมองจะร้อนขึ้น 1-1.5 องศาเซลเซียส เด็กโดนแรงกว่า
ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ จึงแนะว่าให้ใช้มือถือแต่ละครั้งอย่านาน ใช้ small talk ก็น่าจะดีกว่า และเลี่ยงการใช้ที่แคบ เพื่อไม่ให้คลื่นที่โดนเข้มเกินไป ท่านเล่าว่าเตาอบไมโครเวฟกำลังเริ่มต้น 800 วัตต์ ส่วนมือถือซึ่งปล่อยคลื่นแบบเดียวกันกำลังแรง 1 วัตต์ แต่มือถือรุ่นเก่าๆ คลื่นแรงมาก
ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ ยืนยันว่า แม้วิจัยพบผลจากมือถือดังกล่าว แต่ก็ยังใช้ตามปกติ โดยเน้นไม่ให้มาก นาน หรือใกล้เกินไป 10-15 นาทีอย่างมาก
ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ ได้รับทุนวิจัยมาจาก สกว.(สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) และกำลังอยู่ระหว่างวิจัยผลกระทบจาก Wi-Fi ด้วย รอติดตามกันไม่เกิน 1 ปี 

รายละเอียด

การจำลองโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเพื่อวิเคราะห์ค่าอัตราการดูดกลืนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

และการถ่ายเทความร้อนในศีรษะมนุษย์ขณะใช้โทรศัพท์มือถือ 

(ผลงานรางวัล Special Prize จากสมาคมนักประดิษฐ์เกาหลี: KIPA)
 

ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือกลายเป็นอุปกรณ์จำเป็นสำหรับมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เว้นแม้แต่เด็กหรือผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีกระแสของสมาร์ทโฟนที่รวบรวมความสามารถของโทรศัพท์มือถือ แทบเล็ต และคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแล้ว โทรศัพท์มือถือจึงกลายเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพมาก และผูกพันอยู่กับกิจวัตรกิจกรรมของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่อยู่ตลอดเวลา หากวันใดลืมเอาโทรศัพท์มือถือมาหรือแบตเตอรี่ของโทรศัพท์หมดก็จะส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเราทันที เพราะทุกอย่างที่จำเป็นล้วนถูกบันทึกอยู่ในโทรศัพท์ ตั้งแต่เบอร์ติดต่อที่จำเป็น อีเมลล์ เฟซบุ้ค โปรแกรมแชท รวมถึงรหัสผ่านที่เราไม่อยากจำเป็นต้น 
ขณะนี้โทรศัพท์มือถือที่มีขายในท้องตลาดนั้นมีหลากหลายมาก แต่ละรุ่นก็มีคุณสมบัติและคุณลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ไม่ใช่ว่าโทรศัพท์รุ่นใด ๆ ก็จะเหมือนกันหมด โดยคุณสมบัติที่สำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานโดยตรงคือ ความถี่และกำลังส่งซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสมองได้ สำหรับประเทศไทย ความถี่ของคลื่นโทรศัพท์มือถือที่ใช้ในปัจจุบันสำหรับประเทศไทยอยู่ที่ 850/ 900/ 1800/ 1900/ 2100 MHz แม้จะใช้โทรศัพท์ในรุ่นและยี่ห้อเดียวกันแต่หากใช้งานในย่านความถี่ที่แตกต่างกันแล้วผลกระทบที่มีต่อสมองย่อมแตกต่างกันไปด้วย เราจึงจำเป็นต้องมาศึกษาเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับผลกระทบของคลื่นโทรศัพท์มือถือที่มีต่อสมองกันให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
ด้วยเหตุดังกล่าว ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2554 ดร.ธีรพจน์ เวศพันธุ์ และกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรี คือ นายวัจน์กร คุณอมรเลิศ นางสาวจันทกานต์ นูรักษาและนายอภิชาติ  แซ่ซือ จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้ร่วมกันพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ในการจำลองการกระจายตัวของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า รวมถึงความร้อนที่เกิดขึ้นบริเวณสมองเพื่อทำการศึกษาผลกระทบจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้งานที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่ที่สถานการณ์แตกต่างกัน ระยะเวลาที่ต่างกัน ที่ความถี่ต่างๆ จนประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีและเป็นที่ยอมรับทั้งในเวทีวิจัยทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ

(ผลงานของคณะผู้วิจัยที่ตีพิมพ์ใน  Int. J. Heat Mass Transfer, 2012 )


ที่ผ่านมามีผลงานวิจัยทางการแพทย์จำนวนมากได้ระบุว่าการใช้โทรศัพท์มือถือมีความเชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็งในสมองและความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวหากผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือเป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี แต่ก็เป็นเพียงงานวิจัยในเชิงคลินิกเท่านั้นแต่ยังมีผลงานวิจัยในเชิงกายภาพที่เป็นรูปธรรมจำนวนน้อยมากที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่แท้จริงที่เกิดกับผู้ใช้งานโทรศัพท์ ผลงานนี้จึงเป็นการเติมเต็มในส่วนการศึกษาผลกระทบในเชิงกายภาพให้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น 

 

     

(ผลงานของคณะผู้วิจัยที่ตีพิมพ์ใน  ASME J. Heat Transfer, 2012)


ผลงานนี้มีจุดเด่นที่แตกต่างจากงานที่ผ่านมาคือสามารถคำนวณความร้อนที่เกิดขึ้นจากโทรศัพท์มือถือที่บริเวณศีรษะและสมองจากการดูดซับพลังงานของคลื่นไมโครเวฟที่แพร่ออกมาจากเสาอากาศของโทรศัพท์ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองอย่างเฉียบพลันโดยไม่ต้องรอผลในระยะยาว เช่น อาจเกิดการปวดศีรษะ หน้ามืด เสียการทรงตัว และส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ ได้ทันทีขณะใช้งานโทรศัพท์ หากโทรศัพท์เครื่องนั้นๆ ไม่ได้มาตรฐาน เช่น มีค่ากำลังส่งมากเกินมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนด 
ซึ่งจากการศึกษาโดยใช้โปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้นพบว่าการใช้โทรศัพท์รุ่นที่มีความถี่ที่ต่ำกว่าคลื่นจะส่งผลกระทบต่อสมองส่วนกลางได้มากกว่าโทรศัพท์มี่มีความถี่สูงเนื่องจากคลื่นความถี่ต่ำจะสามารถทะลุทะลวงเข้าไปในศีรษะได้ลึกมากกว่านั่นเอง ในทางตรงกันข้ามสำหรับคลื่นความถี่ที่สูงแม้ว่าคลื่นจะไม่สามารถทะลุทะลวงเข้าสู่สมองส่วนกลางได้มากนักแต่กลับจะส่งผลมากกับบริเวณสมองส่วนนอกฝั่งที่อยู่ติดกับโทรศัพท์ได้มากกว่าการใช้งานโทรศัพท์ในย่านความถี่ที่ต่ำ สำหรับกำลังส่งของโทรศัพท์ถ้าใช้กำลังส่งที่มีค่าไม่เกินมาตรฐานก็จะมีผลกระทบต่อสมองไม่มากนัก จากการศึกษาพบว่าสำหรับการใช้งานโทรศัพท์มือถือที่มีกำลังส่งมาตรฐานที่ 1.5 วัตต์เป็นระยะเวลาต่อเนื่องไม่เกิน 30 นาที อุณหภูมิของสมองส่วนกลางจะมีค่าเพิ่มขึ้นไม่เกิน 0.1 องศาเซลเซียส ซึ่งยังถือว่าต่ำกว่าระดับอุณหภูมิที่จะส่งผลผลกระทบต่อร่างกายที่ต้องมีค่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในระดับ 0.2-0.3 องศาเซลเซียสขึ้นไป แต่หากโทรศัพท์ที่ใช้งานมีกำลังส่งมากขึ้น แม้ว่าจะสามารถสื่อสารใช้ชัดเจนแต่ก็อาจส่งผลให้สมองมีการตอบสนองเชิงอุณหภูมิต่อคลื่นโทรศัพท์มากขึ้นตามกำลังส่งเช่นกัน สำหรับผู้ใช้งานที่เป็นเด็ก จากการศึกษาพบว่าคลื่นโทรศัพท์สามารถทะลุทะลวงเข้าไปสู่สมองส่วนกลางได้มากและอาจได้รับผลกระทบได้มากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากเด็กมีขนาดศีรษะที่เล็ก กะโหลกบางกว่า และเนื้อเยื่อสามารถดูดคลื่นไว้ได้มากกว่า โปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้นนี้ยังได้ทำการยืนยันผลความถูกต้องกับค่าที่วัดได้จากการใช้กล้องอินฟราเรดที่ใช้ในการวัดความร้อนบริเวณผิวของผู้ใช้งานโทรศัพท์อีกด้วย 
ดังนั้นควรแนะนำบุตรหลานให้หลีกเลี่ยงการใช้งานโทรศัพท์ที่ไม่จำเป็น อาจใช้งานระบบแฮนด์ฟรีหรือใช้การส่งข้อความแทน ซึ่งผู้วิจัยก็มีข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือดังนี้ 
1.หลีกเลี่ยงการใช้งานโดยไม่จำเป็น หากต้องใช้ก็ใช้ให้น้อยที่สุด 
2.หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ในที่แคบ เช่น ในรถยนต์ เนื่องจากคลื่นจะมีการสะท้อนเข้าสู่ร่างกายของผู้ใช้งานได้เป็นปริมาณมากขึ้น 
3.เวลานอนพยายามอย่าวางโทรศัพท์มือถือไว้ใกล้ตัว 
4. หากต้องพกพาโทรศัพท์มือถือ พยายามหาซองใส่หรือใส่ในกระเป๋าเพื่อลดการแพร่ของคลื่นสู่ร่างกาย 
5. พยายามใช้อุปกรณ์เสริม เช่น Small talk, Bluetooth หรือ Hand free อย่าพยายามพูดโทรศัพท์โดยยกมาแนบกับหูโดยตรง
ผลงานนี้เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางทั้งในแวดวงอุตสาหกรรมการสื่อสารและวงการแพทย์ เนื่องจากเป็นงานแรกของประเทศไทยและเป็นงานแรก ๆ ของโลกที่ได้พิจาณาถึงผลของความร้อนที่เกิดขึ้นในบริเวณสมองจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นผลทางกายภาพที่แท้จริงที่เกิดจากอันตรกิริยาระหว่างคลื่นของโทรศัพท์มือถือต่อเนื้อเยื่อสมองที่จะเชื่อมโยงไปสู่การวิจัยในทางการแพทย์ที่จะศึกษาถึงผลในเชิงชีววิทยาที่มีต่อเซลล์สมองต่อไป และเชื่อมโยงไปสู่ภาคอุตสาหกรรมการสื่อสารที่จะนำไปใช้เป็นมาตรการในการออกแบบโทรศัพท์ให้มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ผลงานนี้ยังได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการชั้นนำของโลกหลายรายการและล่าสุดยังได้รับรางวัล Special Prize จาก จากสมาคมนักประดิษฐ์เกาหลี (KIPA-Korea Invention Promotion Association)ที่มอบพิเศษให้กับนักประดิษฐ์ที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดเพียงสองรางวัล ในงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2556  จัดโดยสภาวิจัยแห่งชาติ ระหว่างวัน ที่ 2 – 5 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

 


( President ของ KIPA และ รองเลขาธิการ วช.)

คณะผู้วิจัยขอขอบคุณทุนวุฒิเมธีวิจัย และทุนพัฒนาศักยภาพอาจารย์รุ่นใหม่จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)-มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย และทุนโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (NRU) ที่ให้การสนับสนุนการวิจัยในครั้งนี้ สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ติดต่อได้ที่  ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช หรือเข้าไปดูรายละเอียดบทความวิจัยฉบับเต็มได้ที่นี่


อ้างอิง และ download งานวิจัยได้ที่ http://www.phadungsak.me.engr.tu.ac.th/RCME%20NEWS/NEWS16.html

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

งานเสวนาวิชาการ NBTC Public Forum ครั้งที่ 2 เรื่อง เสาส่งสัญญาน

อ่านต่อและ download เอกสารได้ที่

http://nbtc-public-forum.blogspot.com/

การบรรยาย เรื่อง “เสาสัญญาณการสื่อสาร: ความปลอดภัยหรืออันตรายสำหรับผู้บริโภค??????”

 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556 กสทช.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ได้เดินทางไป บรรยาย เรื่อง “สิทธิของผู้บริโภคที่ต้องรู้ :ความปลอดภัยด้านสุขภาพจากการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายในยุค3G” ในเวทีสาธารณะภาคเหนือ เรื่อง “เสาสัญญาณการสื่อสาร: ความปลอดภัยหรืออันตรายสำหรับผู้บริโภค??????” ณ หอประชุมโรงเรียนเชียงคำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จัดโดยเครือข่ายผู้บริโภค จ.พะเยาร่วมกับมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา

ดูภาพบรรยากาศในงานได้ที่

http://www.nbtc.go.th/wps/portal/NTC/!ut/p/c5/hY7LDoIwEEU_aa6FUlgCVSgRxNQosCGNIUjCw4Ux8e-FuHGDzizPuTOXKpp3NM-uNY9uGk1PBVVObR-E5HnElYWTByW1dhOVWkyLmZdOHUZ-bIs9gExxMHmWmdp6QMD-pC_Lvy8j2bg7qDDVbh5sZgEf_uv-wrEyPiiLp6Ghkiqx2oNxKvumNdcX3YcCXX47vgGhYR3h/dl3/d3/L2dJQSEvUUt3QS9ZQnZ3LzZfNE83RDVQRzVJMzBUOTBJRFNTOEpJTTNJUDc!/?WCM_GLOBAL_CONTEXT=/wps/wcm/connect/library+ntc/internetsite/04newsactivi/0401pubnews/040102news/news_pub_detail/8fd55a80400896618b92cfabcb3fbcab

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คลื่น WiFi ส่งผลให้ DNA พืชมีปัญหา !!!

         การทดลองทางวิทยาศาสตร์โดยเด็กผู้หญิงมัธยมต้น 5 คนของโรงเรียน Hjallerup School ใน North Jutland ในเดนมาร์ก โดยทำการเพาะเมล็ดผัก garden cress ในสองถาด และแยกถาดทั้งสองอยู่คนละห้องแต่ปรับอุณหภูมิให้เท่ากัน ได้รับน้ำและแสงแดดในปริมาณเท่าๆกันเป็นเวลา 12 วัน

          ถาดแรกนำไว้ในห้องที่ไม่มีคลื่น Wifi ใดๆ ปรากฏว่าเมล็ดผักเติบโตตามปกติ 
ถาดที่สองนำถาดไปวางใกล้ๆกับ Wifi router 2 เครื่อง ปรากฏว่าเมล็ดผักแทบไม่เติบโต รากไม่งอก

         โดยการทดลองเรื่องดังกล่าวเริ่มต้นมาจากการตั้งสมุตติฐาน จากการสังเกตเห็นว่าถ้าหากพวกเขาหลับไปกับโทรศัพท์มือถือของพวกเขา ซึ่งโทรศัพท์มือถืออยู่ใกล้ศีรษะของพวกเขาในเวลากลางคืนพวกเขามักจะมีสมาธิสั้นเมื่ออยู่ที่โรงเรียนในวันถัดไป

แหล่งข้อมูล:
http://www.mnn.com/health/healthy-spaces/blogs/student-science-experiment-finds-plants-wont-grow-near-wi-fi-router

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีผลต่อ DNA จริงหรือไม่

นร.อิสราเอล-ไทย
พบสัญญาณไวไฟ
มีผลต่อ “ดีเอ็นเอ”
ทั้งในพืชและสัตว์
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค  กล่าวระหว่างการร่วมเสวนากับเครือข่ายภาคประชาชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  ร่วมกับ คณะวิทยาการสื่อสารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี และ เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ ที่ จ.ปัตตานี ว่า ผู้บริโภคในยุคนี้จะต้องเรียนรู้เทคโนโลยีและบริการ เพราะต้องเท่าทัน เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
ส่วนเรื่องความเป็นอันตรายต่อสุขภาพนั้น เท่าที่ทราบนักเรียนที่อิสราเอลได้ทดลองปลูกเมล็ดผัก 2 แปลง โดยแปลงหนึ่งมีระบบโครงข่ายไร้สาย(ไวไฟ)มาติดตั้ง กับอีกแปลงหนึ่งไม่มีไวไฟ พบว่า แปลงที่ปลูกพร้อมสัญญาณไวไฟนั้นเมล็ดผักไม่งอก ไม่เติบโต
นพ.ประวิทย์ กล่าวว่า ในประเทศ  ทางโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.ตรัง ได้ทำการศึกษาโดยเอาเร้าเตอร์ไวไฟ เปิดไว้แล้วทดลองเลี้ยงแมลงหวี่ ระหว่างแมลงหวี่ที่เลี้ยงมีสัญญาณไวไฟ กับแมลงหวี่ที่ไม่มีไวไฟ ผลการศึกษาของเด็กนักเรียนพบว่า  แมลงหวี่รุ่นที่ 4 มีปีกเล็กๆเพิ่มขึ้นมาอีก 4 ปีก ที่เรียกว่าผ่าเหล่า
“ปีกที่เคยมีอยู่เท่านี้ ก็งอกมาเพิ่ม ปลอดภัยหรือไม่ก็ต้องคิดเอา มันมีผลต่อดีเอ็นเอ ไม่ว่าพืช หรือมนุษย์  ซึ่งผู้ใช้บริการต้องระมัดระวัง และรวมไปถึงสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งไม่ควรนำไปไว้ใกล้หัวนอนตัวเอง”  นายประวิทย์ กล่าว
ทั้งนี้ผลการศึกษาของนักเรียนกลุ่มนี้ได้นำเสนอในการประกวด โครงการวิทยาศาสตร์ประจำปี2555 ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) ด้วย
 
 
แหล่งข้อมูล :

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

'คลื่นโทรศัพท์มือถือ' รู้เลี่ยง รู้ใช้ ปลอดภัย

โทรศัพท์มือถือ เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างหนึ่งที่ต้องยอมรับว่า ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ไปแล้ว แต่การที่เรามีความต้องการใช้อะไรที่มากเกินไปก็มักมีผลเสียตามมาเสมอ เป็นที่มาของงานวิจัยแขนงต่างๆ ที่ชี้ว่าการใช้โทรศัพท์มือถือมาก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของมือถืออาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งหรือเนื้องอกในสมองได้ ซึ่งบางงานวิจัยเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เท็จจริงอย่างไรไม่สำคัญ ทางออกที่ดีที่สุดคือ ยึดหลักปลอดภัยไว้ก่อนน่าจะแน่นอนกว่า..!!!
ดร.พิเชษฐ กิจธารา อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความรู้ว่า “คลื่น” คือการเปลี่ยน แปลงกลับไปกลับมาหรือการกระเพื่อมในลักษณะที่มีการแผ่กระจายหรือเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิด โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. คลื่นกล เป็นคลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ คลื่นประเภทนี้ก็คือ คลื่นผิวน้ำ ซึ่งเป็นการกระเพื่อมของผิวน้ำและแผ่กระจายออกไปเมื่อเราโยนก้อนหินลงไปในน้ำ จุดที่ก้อนหินกระทบผิวน้ำก็คือแหล่งกำเนิดคลื่นและตัวกลางในการเคลื่อนที่ก็คือ น้ำ และคลื่นกลอีกชนิดหนึ่งก็คือคลื่นเสียงซึ่งใช้อากาศเป็นตัวกลาง
2. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นคลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กสามารถเคลื่อนที่ได้ในสุญญากาศโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดเคลื่อนที่ด้วยความเร็วแสง (ประมาณ 300,000,000 เมตรต่อวินาที เทียบเท่ากับการเคลื่อนที่รอบโลกประมาณ 7 รอบในเวลา 1 วินาที) ตัวอย่างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เราคุ้นเคยก็คือ คลื่นวิทยุ คลื่นแสงและรังสีเอ็กซ์ (X-Ray) โดยคำว่าคลื่นและรังสี หมายถึงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหมือนกัน แต่เรามักใช้คำว่ารังสีกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงมาก เช่น รังสีเอ็กซ์ (ใช้ในการเอกซเรย์ในโรงพยาบาล) และรังสีแกมม่า (Gamma-Ray ; มาจากนอกโลกและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์) เช่น แหล่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์คือเครื่องถ่ายภาพเอกซเรย์ในโรงพยาบาล ส่วนรังสีแกมม่ามาจากนอกโลกเป็นส่วนใหญ่หรือจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
รังสีทั้ง 2 นี้มีพลังงานมากพอที่จะทำให้ยีนหรือเซลล์ในร่างกายมนุษย์เกิดความผิดปกติได้ทันทีที่ได้รับรังสี แต่โอกาสที่จะเกิดความผิดปกตินั้นน้อยมากและร่างกายมนุษย์สามารถกำจัดเซลล์ผิดปกติได้อย่างดีอยู่แล้ว ดังนั้นจึงถือว่าอันตรายจากการเอกซเรย์ทั่วไปในช่วงเวลาสั้นๆ นั้นน้อยมากคุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้รับจากการช่วยวินิจฉัยโรค แต่การระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะทำให้เซลล์ของพนักงานที่อยู่ใกล้เกิดความผิดปกติทันทีเช่นกัน และหากได้รับปริมาณรังสีมากเกินไปก็จะทำให้ร่างกายซ่อมแซมไม่ทัน กลายเป็นมะเร็งหรือเสียชีวิตภายในเวลาไม่นาน แต่คลื่นที่มีความถี่น้อยกว่านั้น เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นอินฟราเรด คลื่นแสง คลื่นเหนือม่วง มีพลังงานน้อยกว่าและไม่ทำให้เซลล์ในร่างกายมนุษย์เกิดความผิดปกติแบบทันทีทันใด แต่สามารถทำให้เกิดอันตรายได้หากได้รับคลื่นเป็นระยะเวลานานๆ หลายปี เช่น คลื่นยูวีในแสงแดดเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งผิวหนัง
สำหรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์มือถืออยู่ในช่วงไมโครเวฟ มีความถี่ประมาณ 800–2,500 MHz (1 MHz = 1 ล้านลูกคลื่นต่อวินาที) เป็นคลื่นที่สามารถทะลุเข้าไปในร่างกายมนุษย์หรือเนื้อเยื่อได้ง่าย (ต่างกับคลื่นแสงที่ไม่สามารถทะลุผิวหนังเข้าไปลึกๆ ได้) และเป็นช่วงคลื่นเดียวกับที่ใช้ในเตาไมโครเวฟ ถึงแม้กำลัง (อัตราพลังงานที่ใช้ต่อวินาที) ของโทรศัพท์มือถือ (1-2 วัตต์) จะน้อยกว่าของเตาไมโครเวฟ (ประมาณ 1,000 วัตต์) แต่เนื่องจากเป็นความถี่ในช่วงเดียวกัน จึงทำให้เกิดความกังวลเรื่องอันตรายจากคลื่นในช่วงนี้ขึ้นมา ซึ่งความกังวลหลักมีอยู่ 2 ประเด็นคือ คลื่นไมโครเวฟจากโทรศัพท์มือถือทำให้เซลล์สมองเกิดความผิดปกติโดยตรงหรือไม่และความร้อนจากคลื่นไมโครเวฟส่งผลทางอ้อมต่อสมองหรือไม่อย่างไร
จากผลงานวิจัยในอดีตเมื่อหลายปีก่อนนับร้อยชิ้นที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของคลื่นไมโครเวฟต่อสมอง ซึ่งผลวิจัยมีทั้งที่เห็นว่าเป็นอันตรายและที่เห็นว่าไม่เป็นอันตรายจำนวนเท่าๆ กัน จึงไม่สามารถสรุปไปทางใดทางหนึ่งได้ แต่ อย่างไรก็ตามความผิดปกติจากคลื่นความถี่ต่ำพลังงานน้อยอย่างคลื่นไมโครเวฟนั้นเกิดขึ้นช้ามากในระยะเวลาหลายปี การศึกษาวิจัยจึงต้องใช้เวลานานหลายปีเช่นกัน ผลงานวิจัยที่น่าเชื่อถือจึงเพิ่งทยอยออกมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี่เอง ข่าวที่ทั่วโลกให้ความสำคัญในช่วงกลางปี 2011 ก็คือ ผลสรุปจากการประชุมของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก World Health Organization (WHO) ซึ่งมีสาระสำคัญๆ ดังนี้
1. การประชุมได้พิจารณาผลงานวิจัยนับร้อยชิ้นจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
2. ผลงานวิจัยทั้งหมดไม่เพียงพอหรือไม่สามารถบอกได้ว่าการใช้โทรศัพท์มือถือในกรณีปกติทั่วไปทำให้เพิ่มโอกาสการเป็นเนื้องอกสมอง
3. งานวิจัยที่บ่งบอกว่าการใช้โทรศัพท์มือถือเยอะเกินไปเป็นเวลานาน (มากกว่า 30 นาทีต่อวัน เป็นเวลากว่า 10 ปี) เพิ่มโอกาสการเป็นเนื้องอกสมอง 40% มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือ (ทุกคนมีโอกาสเป็นเนื้องอกสมอง แต่ถ้าคุณใช้มือถือมากเกินไป โอกาสที่คุณจะเป็นเนื้องอกมีมากขึ้น) อย่างไรก็ตามนี่เป็นงานวิจัยเพียง 1 ชิ้นที่จะต้องรองานวิจัยจากกลุ่มอื่นยืนยันต่อไป
4. ที่ประชุมจัดให้คลื่นไมโครเวฟจากโทรศัพท์มือถือเป็นปัจจัยที่อยู่ในกลุ่ม 2B คือหมายถึงกลุ่มที่อาจจะเพิ่มโอกาสการเป็นเนื้องอกสมอง (possibly carcinogenic to humans) ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับเครื่องสำอางบางชนิด
โดยทาง International Agency for Research on Cancer (IARC) แบ่งกลุ่มปัจจัยก่อมะเร็งเป็น 4 กลุ่มด้วยกันคือกลุ่มที่ 1 ก่อมะเร็งชัดเจน (definitely carcinogenic to humans) ต้องหลีกเลี่ยง กลุ่มที่ 2A น่าจะก่อมะเร็ง (probably carcinogenic to humans) ควรหลีกเลี่ยง กลุ่มที่ 2B อาจจะก่อมะเร็ง (possibly carcinogenic to humans) พึงระวัง หรือยึดปลอดภัยไว้ก่อน กลุ่มที่ 3 ไม่สามารถจำแนกได้ (not classifiable as to its carcinogenicity to humans) และกลุ่มที่ 4 ไม่น่าจะก่อมะเร็ง (probably not carcinogenic to humans)
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยสำคัญอื่นๆ อีก ถึงแม้งานวิจัยเหล่านี้ยังมีจำนวนน้อยชิ้นแต่เป็นงานวิจัยที่ควรติดตามเพื่อยืนยันต่อไป เช่น ยังไม่ต้องตื่นตระหนก เพราะความร้อนจากคลื่นไมโครเวฟมีน้อยและไม่กระทบสมองโดยตรง กระแสเลือดในสมองสามารถระบายความร้อนได้ดี แต่ความร้อนต่อดวงตายังต้องรอการวิจัยต่อไป เพราะภายในดวงตาไม่มีเส้นเลือดคอยระบายความร้อน งานวิจัยบางชิ้นบ่งบอกว่าคลื่นไมโครเวฟทำให้พูดช้าลง รบกวนการเต้นของหัวใจ รบกวนความจำ เพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งช่องปาก แต่ทั้งหมดยังไม่ยืนยัน เนื้อสมองที่อยู่ใกล้โทรศัพท์ขณะสนทนาใช้ปริมาณน้ำตาลกลูโคสมากขึ้น แต่ไม่สามารถเชื่อมโยงว่าทำให้ก่อมะเร็งหรือไม่
ในเมื่อผลการวิจัยต่างๆ ยังไม่ยืนยันร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าโทรศัพท์มือถือปลอดภัยหรือไม่ เราควรยึดหลักปลอดภัยไว้ก่อนโดยการปฏิบัติดังนี้ หลีกเลี่ยงการคุยโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน (ควรน้อยกว่า 30 นาทีต่อวัน และคุยสั้นๆ ในแต่ละครั้ง) หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือในลิฟต์หรือในรถยนต์ เพราะลิฟต์และรถยนต์ทำด้วยโลหะที่ไปลดพลังงานของคลื่นที่จะส่งไปยังสถานีโทรศัพท์ (เสาโทรศัพท์ตามยอดตึกต่างๆ) เมื่อถูกลดสัญญาณเครื่องโทรศัพท์จะเพิ่มกำลังส่งคลื่นให้มากขึ้นเพื่อให้ความแรงของคลื่นเท่าเดิม ซึ่งจะทำให้คลื่นเข้าสมองท่านมากขึ้น (คนรอบข้างท่านในลิฟต์และในรถก็จะได้รับคลื่นมากขึ้นไปด้วย) พลังงานของคลื่นลดลงตามระยะทางที่เคลื่อนที่ตามกฎผกผันกำลังสอง (หากเพิ่มระยะทาง 10 เท่า กำลังของคลื่นจะลดลง 102=100 เท่า) ดังนั้นการใช้หูฟังหรือการใช้สปีกโฟนหรือบลูทูธจะทำให้ระยะระหว่างสมองและมือถือเพิ่มมากขึ้นช่วยลดพลังงานของคลื่นได้ดีมาก หรือจะใช้วิธีการส่งข้อความแทนการคุยโทรศัพท์มือถือก็ช่วยลดความเสี่ยงได้
ที่สำคัญไม่ควรให้เด็กใช้โทรศัพท์มือถือมากเกินไป เพราะกะโหลกศีรษะช่วยป้องกันคลื่นได้บางส่วน แต่กะโหลกศีรษะของเด็กมีความหนาน้อยกว่าของผู้ใหญ่ ดังนั้นไม่ควรให้เด็กใช้โทรศัพท์มือถือมากเกินไป และไม่ควรนอนตะแคงคุยโทรศัพท์โดยมีโทรศัพท์ใต้ศีรษะ เพราะโทรศัพท์จะอยู่ระหว่างหมอนและศีรษะขณะสนทนา ทำให้มือถือเพิ่มกำลังการส่งคลื่นและทำให้เราได้รับคลื่นมากขึ้น การใช้มือถือที่มี Radiation น้อย แต่โทรศัพท์รุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่มีการออกแบบเสาอากาศดีกว่าสามารถลดกำลังส่งได้เมื่อเทียบกับรุ่นเก่าๆ และก่อนนอนควรปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นรวมทั้ง ปิด Modem WiFi เพราะนอกจากจะลดอันตรายที่อาจจะมีจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแล้วยังช่วยลดโลกร้อนด้วย
ไม่ว่าจะมีวิธีแก้หรือลดความเสี่ยงอย่างไรก็ตาม การรู้จักความพอดีในการใช้โทรศัพท์มือถือน่าจะเป็นหลักสำคัญ เพราะนอกจากจะไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพแล้วยังไม่ต้องจ่ายค่าบริการที่มากตามไปด้วย และคงจะไม่คุ้มถ้าต้องเสียเงินจ่ายทั้งค่าบริการโทรศัพท์และค่ารักษาพยาบาลสุขภาพควบคู่กันไปเพียงแค่ต้องการคุยโทรศัพท์นานๆ เท่านั้นเอง
อันตรายอื่นๆ และสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ 'คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า'
เสาของสถานีโทรศัพท์ อาจจะเป็นอันตรายก็ต่อเมื่อท่านอยู่ใกล้เสามากๆ ในระยะไม่กี่เมตร หากอยู่ไกลเกินกว่า 10 เมตรจะได้รับพลังงานน้อยมาก นอกจากนี้คลื่นส่วนใหญ่จะแผ่กระจายออกทางด้านข้างของเสา ดังนั้นผู้อาศัยในตึกหรือใต้ตึกที่ติดตั้งเสาโทรศัพท์ไม่น่าจะได้รับอันตราย อย่างไรก็ตาม หากตึกข้างๆ ท่านติดตั้งเสาโทรศัพท์ (หรือเสาทีวี วิทยุ อื่นๆ) ในระดับความสูงเดียวกับห้องชุดคอนโดของท่านและเสานั้นห่างจากห้องของท่านเพียงไม่กี่เมตร ควรพิจารณาหลีกเลี่ยงการอาศัยในห้องดังกล่าว
สายส่งไฟฟ้าแรงสูง จัดอยู่ในกลุ่ม 2B เช่นเดียวกับโทรศัพท์มือถือ งานวิจัยบางชิ้นบ่งบอกว่าเด็กที่อาศัยใกล้สายส่งไฟฟ้าแรงสูง มีโอกาสเป็น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มากขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยบางท่านมีอาการปวดศีรษะ ปวดไมเกรนหรือนอนหลับยากเมื่ออาศัยอยู่ใกล้สายส่งไฟฟ้าแรงสูง แม้จะยังมีหลายงานวิจัยที่มีความเห็นขัดแย้ง แต่หากยึดหลักปลอดภัยไว้ก่อน ควรหลีกเลี่ยงสายส่งไฟฟ้าแรงสูง หลีกเลี่ยงห้องในอาคารชุดคอนโดที่อยู่ติดสายส่งไฟฟ้าหรือหม้อแปลงขนาดใหญ่
คลื่นไมโครเวฟจากมือถือ รบกวนการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้จริง ควรปิดมือถือเมื่ออยู่บนเครื่องบินหรือเมื่อท่านยืนติดกับเครื่องมือทางการแพทย์
“ในเมื่อผลการวิจัยต่างๆ ยังไม่ยืนยันร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า โทรศัพท์มือถือปลอดภัยหรือไม่ เราควรยึดหลักปลอดภัยไว้ก่อนโดยหลีกเลี่ยงการคุยโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือในลิฟต์หรือในรถยนต์…”


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

แหล่งข้อมูล :
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/23939

โทรศัพท์มือถือกับผลต่อสุขภาพ

บทความโดย สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย

บทนำ
โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการสื่อสาร อุปกรณ์เหล่านี้ทำให้สามารถโทรศัพท์ติดต่อถึงกันโดยโทรจากที่ไหนก็ได้ โทรศัพท์ชนิดนี้มี 2 ประเภท โทรศัพท์โดยทั่วไปจะมีเสาอากาศติดอยู่ที่ตัวโทรศัพท์ อีกประเภทจะมีเสาอากาศแยกออกต่างหากและในกรณีที่ติดตั้งในรถ อาจมีเสาอากาศติดอยู่ที่หน้าต่างหรือหลังคารถ การติดต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือกับสถานีที่ใกล้ที่สุดใช้ไมโครเวฟที่ออกมาจากเสา ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงแต่โทรศัพท์มือถือแบบธรรมดาเท่านั้น
ผลกระทบต่อสุขภาพ Basis of Health Concerns โทรศัพท์มือถือแบบธรรมดาจะมีผลต่อสุขภาพสูงขึ้นถ้ามีเสาอากาศติดตั้งอยู่ด้วย ในขณะที่ใช้งานเสาอากาศจะอยู่ใกล้ชิดกับศีรษะของผู้ใช้ ทำให้มีความกังวลเกี่ยวกับระดับการได้รับรังสีไมโครเวฟของสมอง
โทรศัพท์ที่เสาอากาศถูกห่อหุ้มไว้จะมีผลน้อยกว่า เนื่องจากระดับของการได้รับรังสีจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อระยะห่างจากเสาอากาศเพิ่มขึ้น โทรศัพท์ไร้สายที่ใช้งานโดยอยู่ห่างจากเครื่องรับได้ในระยะไม่เกิน 20 เมตร การใช้งานจะไม่มีผลต่อสุขภาพเนื่องจากระดับรังสีต่ำมาก
มีรายงานจำนวนมากปรากฏในสื่อต่างๆ ว่ามีอาการผิดปกติที่เกิดจากการใช้โทรศัพท์มือถือ เช่น ปวดศีรษะ มีจุดร้อน (hot spots) ในสมองและมะเร็งสมอง
มีรายงานในสื่อเหล่านั้นว่า ประมาณ 70% ของไมโครเวฟที่แผ่ออกมาจากโทรศัพท์มือถือจะถูกดูดกลืนไปที่ศีรษะของผู้ใช้ เรื่องนี้ไม่มีการยืนยันอย่างแน่ชัด แต่ก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดจุดร้อน (hot spots) ขึ้นในสมองของผู้ใช้ ทำให้การใช้โทรศัพท์มือถืออาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ มีรายงานบางแห่งที่ชี้ให้เห็นว่าผู้ใช้หลายรายมีอาการปวดศีรษะหลังจากใช้โทรศัพท์มือถือ ขณะนี้จึงเป็นการยากที่จะประเมินความแน่นอนของรายงานเหล่านี้ เนื่องจากยังไม่มีรายงานออกมาอย่างเป็นทางการ
มีรายงานถึงการเกิดมะเร็งสมองในอเมริกาว่า มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ฟ้องร้องผู้ผลิตหรือจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ ว่าไมโครเวฟจากโทรศํพท์มือถือทำให้พวกเขาเกิดมะเร็งสมอง แต่เมื่อมีการตรวจสอบแล้วพบว่าบางรายเกิดความเข้าใจผิด
ผลของการได้รับไมโครเวฟที่เราทราบแล้ว ไมโครเวฟเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง สิ่งที่แสดงคุณสมบัติของคลื่นเหล่านี้คือความถี่ บางช่วงความถี่เป็นสิ่งที่นำมาใช้ในการสื่อสารรวมทั้งไมโครเวฟด้วย
มีประชาชนบางส่วนเข้าใจผิดเนื่องจากการเผยแพร่ของสื่อ ถึงโอกาสของการได้รับผลกระทบจากการได้รับคลื่นจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากสายไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งมีความถี่ต่ำกว่าไมโครเวฟจากโทรศัพท์มือถือมาก คุณสมบัติและผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตของคลื่นชนิดนี้แตกต่างจากไมโครเวฟมาก การนำรายงานการศึกษาที่เกิดจากคลื่นชนิดนี้มาขยายผล (extrapolate) จึงไม่มีความหมายใดๆ
มาตรฐานการป้องกันรังสี (ARPANSA Radiation Protection Standard) ซึ่งกำหนดระดับการได้รับรังสีสูงสุดสำหรับคลื่นความถี่ 3 กิโลเฮิร์ต – 300 กิกะเฮิร์ต ("Maximum Exposure Levels to Radiofrequency Fields - 3kHz to 300 GHz ") ซึ่งเป็นสิ่งที่ทราบแน่ชัดแล้วถึงผลทางด้านความร้อน (thermal effects) ที่เกิดจากการได้รับไมโครเวฟ นั่นคือ เมื่อเนื้อเยื่อได้รับไมโครเวฟสูงถึงระดับหนึ่ง เนื้อเยื่อจะร้อนและเกิดความเสียหาย ขีดจำกัดของการได้รับรังสี (exposure limits) จึงกำหนดเอาไว้ต่ำกว่าระดับที่จะทำให้เกิดความร้อน มาตรฐานนี้ได้กำหนดขีดจำกัดของการได้รับรังสีที่ไม่ทำให้เกิดความร้อน (non-thermal effects)
โทรศัพท์มือถือทั้งหมดที่วางจำหน่ายในออสเตรเลีย จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับของ Australian Communications and Media Authority (ACMA) และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดเพดานกำลังส่งของโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น จึงคาดว่าการใช้โทรศัพท์มือถือจะไม่ทำให้เกิดความร้อนกับส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย รวมทั้งสมองด้วย
รายงานบางชิ้นได้ชี้ให้เห็นว่าอาจจะมีผลที่ไม่ใช่ความร้อน (non-thermal effect) เกิดขึ้นจากการได้รับไมโครเวฟระดับต่ำ แต่ผลที่เกิดขึ้นเหล่านี้ยังไม่แน่ชัดพอที่จะนำมาใช้กำหนดไว้ในมาตรฐานได้
ความไม่แน่นอนในการเกิดมะเร็ง
มีรายงานการศึกษาบางชิ้นถึงการได้รับไมโครเวฟในสัตว์พบว่า สามารถกระตุ้นให้มะเร็งขยายตัวเร็วขึ้น เรื่องนี้ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลที่แน่นอนและความสัมพันธ์ของผลที่เกิดขึ้นกับปริมาณรังสี ผลที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้กับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือยังไม่ชัดเจน ในระดับนี้ จึงไม่ควรที่จะตัดออกไปจากการพิจารณา
มีการศึกษาไม่มากนักที่จะให้ข้อมูลโดยตรงถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับผลเสียของโทรศัพท์มือถือต่อประชาชนทั่วไป รวมถึงการหาค่าจำกัดของระดับของคลื่น ผลจากการศึกษาเหล่านี้ตีความได้ยาก เนื่องจากไม่มีการวัดระดับของคลื่นที่ได้รับ หรือไม่สามารถหาได้จากข้อมูลที่มีอยู่ โดยทั่วไป การศึกษาเหล่านี้จะมีประโยชน์เมื่อนำไปเชื่อมโยงระหว่างการใช้โทรศัพท์มือถือกับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ซึ่งยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลกระทบที่เกิดกับกลไกทางชีววิทยา ทั้งในแง่ของการวิจัยระดับเซลล์และในสัตว์ทดลอง
หน่วยงานป้องกันรังสีออสเตรเลีย (Australian Radiation Protection) และองค์การความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ (Nuclear Safety Agency) ได้ติดตามงานวิจัยเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
ในกรณีของการเกิดมะเร็งสมองในผู้ใช้โทรศัพท์มือถือนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องทราบก่อนคือ ในบางรายนั้นมีการเกิดมะเร็งขึ้นตั้งแต่ก่อนที่จะใช้โทรศัพท์มือถือ การจะจำแนกถึงสาเหตุของการเป็นมะเร็งในแต่ละรายจึงเป็นเรื่องยาก การศึกษาในระยะยาวถึงผลกระทบต่อผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ เช่น การเกิดมะเร็งสำหรับประชาชนทั่วไปจึงยังมีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
การสนับสนุนงานวิจัยของรัฐบาล
ตั้งแต่ปี 1996 รัฐบาลออสเตรเลียได้อนุมัติงบประมาณในโครงการพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ Electromagnetic Energy (EME) Program จำนวน 1 ล้านเหรียญต่อปี โครงการนี้ให้การสนับสนุนงานวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลผลกระทบต่อประชาชนจากการใช้โทรศัพท์มือถือ สถานีถ่ายทอดสัญญาณ (base stations) รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ในการสื่อสาร โครงการนี้จะเน้นไปที่ประชาชน โดยหาข้อมูลในการกำหนดมาตรฐานและนโยบายด้านสุขภาพที่มีฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุด
โครงการ EME ได้ร่วมกับ Committee on Electromagnetic Energy Public Health Issues (CEMEPHI) และผู้แทนจาก Department of Communications, Information Technology กับ Department of Health and Ageing, ARPANSA, ACMA, รวมทั้ง National Health and Medical Research Council (NHMRC) โครงการนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
โครงการวิจัยออสเตรเลีย (Australian research program) โดย NHMRC เป็นผู้ดำเนินการวิจัยด้านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EME) ในออสเตรเลียและร่วมกับประเทศอื่นในภูมิภาค
ให้ออสเตรเลียเข้าร่วมในองค์การอนามัยโลกหรือ World Health Organization's (WHO) โครงการคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างประเทศหรือ International Electromagnetic Field (EMF) Project อย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EME)
โครงการประชาสัมพันธ์ (public information program) ดำเนินการโดย ARPANSA ทำหน้าที่ให้ข้อมูลแก่สื่อต่างๆ และประชาชน
บทสรุป
ยังไม่มีความแน่ชัดว่าการได้รับคลื่นไมโครเวฟจากโทรศัพท์มือถือจะทำให้เกิดมะเร็ง และยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่นอนว่าการได้รับคลื่นไมโครเวฟจะเร่งให้มะเร็งที่เป็นอยู่แล้วขยายตัวเร็วขึ้น ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ให้มากขึ้นอีก
ผู้ใช้ที่มีความกังวลถึงโอกาสที่จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพสามารถลดการได้รับคลื่นไมโครเวฟโดย ลดเวลาในการใช้โทรศัพท์มือถือให้น้อยลง ใช้โทรศัพท์มือถือชนิดที่ไม่มีเสาอากาศ หรือใช้ hands-free ในขณะที่ใช้โทรศัพท์มือถือ
ปัจจุบัน ยังไม่มีรายงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน เกี่ยวกับผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนจากการใช้โทรศัพท์มือถือระยะยาว
ถอดความจาก Mobile Telephones and Health Effects
เวบไซต์

แหล่งข้อมูล :
http://www.nst.or.th/article/article494/article49402.html
 

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ผลกระทบต่อสุขภาพจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

หนังสือเรื่อง ผลกระทบต่อสุขภาพจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
โดย ดร.สุเมธ วงศ์พานิชเลิศ

เป็นผลงานการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเรื่อง ผลกระทบต่อสุขภาพจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากคลื่นสัญญาณโทรคมนาคมที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่ใช้บริการ หรือประชาชนที่อยู่ใกล้ชิดแหล่งสัญญาณ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว


Download :

http://www.mediafire.com/download/1n5ugpl844vh6ji/06.-%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2.pdf


แหล่งที่มา :

http://www.finearts.cmu.ac.th/wp-content/uploads/2011/09/06.-%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2.pdf

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

น.พ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา ศัลยแพทย์ระบบประสาท คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า คลื่นโทรศัพท์มือถือมีฤทธิ์ก่อมะเร็ง

แพทย์สรุปแล้วคลื่นโทรมือถือมีฤทธิ์ก่อมะเร็ง

ศัลยแพทย์จุฬาฯระบุ ผลวิจัยของ ฮาร์วาร์ด

ที่ได้รับทุนจากบริษัทมือถือสรุปผลออกมาแล้วว่า

การใช้โทรศัพท์มือถือส่งผลให้เซลล์มนุษย์เปลี่ยนแปลง

และอาจก่อให้เกิดมะเร็งหรือเนื้องอกในสมองได้

แนะให้กดรับ โทรศัพท์ให้ห่างตัวก่อนพูดคุยตามปกติ

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม น.พ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา

ศัลยแพทย์ระบบประสาท คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า

เมื่อเร็วๆ นี้รายงานของคณะกรรมการพิเศษ สภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา

ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัทโทรศัพท์มือถือทุกยี่ห้อทุกระบบ

ให้คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเป็นผู้บริหารจัดการ

โดยศึกษาวิจัยการใช้โทรศัพท์มือถือผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว

และได้ทยอยเปิดเผยรายงานวิจัยดังกล่าวออกมาเป็นระยะล่าสุดเมื่อไม่กี่เดือน

นี้ นักวิจัยได้เปิดเผยผลการศึกษาในสัตว์ทดลองที่ศึกษามานานกว่า 7 ปี

พบว่า การใช้โทรศัพท์มือถือมีผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงในระดับเซลล์ของ

มนุษย์ทำให้การซ่อมแซมดีเอ็นเอในร่างกายเสื่อมสมรรถภาพ

และมีความเป็นไปได้ทำให้เกิดเนื้องอกหรือมะเร็งที่สมองได้

จากการศึกษาดังกล่าว นักวิจัยได้นำไปศึกษาต่อในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งสมอง

พบว่าเนื้องอกที่สมองมีความสัมพันธ์กับการใช้โทรศัพท์มือถือ

กล่าวคือพบว่าผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกในสมองจะเป็นข้างเดียวกับข้างที่ใช้โทรศัพท์

ถ้าถือโทรศัพท์มือถือข้างขวาก็เป็นเนื้องอกที่สมองข้างขวา

และยังพบว่าในเนื้องอกนั้นมีเซลล์ลักษณะพิเศษที่พบเฉพาะในผู้ที่ใช้

โทรศัพท์มือถือ ซึ่งนักวิจัยพยายามหาข้อมูลเชิงระบาดวิทยาให้มากขึ้น

เพื่อยืนยันผลการทดลองดังกล่าว แต่โดยสรุปแล้วคณะกรรมการพิเศษเห็นว่าผลการศึกษานี้มีมูล

รวมทั้งจะพิมพ์เป็นตำราอย่างเป็นทางการภายในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้

จนเป็นเหตุให้บริษัทที่ทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือพยายามวิ่งล็อบบี้ไม่ให้

ผลการวิจัยนี้ออกมาเผยแพร่ ต่อสาธารณชน น.พ.ธีรวัฒน์กล่าวอีกว่า

นอกจากนี้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศอังกฤษ

ยังได้ออกประกาศเตือนประชาชน โดยเฉพาะวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 16 ปี

ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือ เพราะเชื่อว่า ช่วงอายุดังกล่าวสมองของเด็กวัย รุ่นยังเติบโตพัฒนาไม่เต็มที่

อีกทั้งกะโหลกศีรษะไม่หนาพอที่จะรับผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กหรือรังสีจากโทรศัพท์

มือถือได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย อย่างไรก็ตามจากการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพ

จากโทรศัพท์มือถือทั่วโลกก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการใช้โทรศัพท์มือถือ

ครั้งละ 1 นาที10 ครั้ง ติดต่อกัน ช่วงระยะเวลาหนึ่ง กับการใช้โทรศัพท์มือถือ

ครั้งละ 10 นาที มีอันตรายมากน้อยต่างกันหรือไม่อย่างไร

อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศนั้นมีคำแนะนำให้ผู้ที่จำ

เป็นต้องใช้โทรศัพท์มือถือเป็นประจำให้ใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีช่วย

เพื่อให้ปริมาณและอัตราการใช้โทรศัพท์มือถือห่างสมองมากที่สุด

ขณะเดียวกันก็มีนักวิจัยถกเถียงเรื่องแฮนด์ฟรีนี้อยู่มากว่า

จะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อสมองได้มากน้อยเพียงใด

เนื่องจากพลังงานคลื่นแม่เหล็กจากโทรศัพท์มือถือจะมีมากที่สุด

ขณะที่มีสายเรียกเข้าซึ่งระหว่างนั้น เสาสัญญาณจะปล่อยพลังงานออกมาก

เพื่อรับส่งสัญญาณผมจึงอยาก แนะนำว่าโทรศัพท์มือถือใน

ยุคนี้สมัยนี้อาจจะมีความจำเป็นสำหรับประชาชนอยู่ เพราะฉะนั้นหากจำเป็นต้องใช้

ขอให้ใช้น้อยที่สุด และเมื่อมีสัญญาณโทรศัพท์เรียกเข้ามา

กดรับสายให้ห่างตัวสักพักจึงค่อยนำมาแนบหู เพื่อความปลอดภัย

เพราะผลกระทบทบจากโทรศัพท์มือถือทุกระบบ ทุกยี่ห้อ

ไม่ได้แสดงออก ให้เห็นทันทีทันใด แต่จะเป็นผลสะสมระยะยาว

สสวท ย้ำ อันตรายมือถือปวดหัว-มะเร็ง

สภาสมาคมวิทยาศาสตร์ฯ จัดนิทรรศการแจงอันตรายโทรศัพท์มือถือต่อสุขภาพ ภายในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ พร้อมแนะนำวิธีใช้ที่ปลอดภัย มุ่งลดปริมาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทะลุทะลวงสมอง

ดร.ดนัย ทิวาเวช กรรมการสมาคมพิษวิทยา และรองเลขาธิการสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวทท.) กล่าวว่า สสวทท.จัดนิทรรศการมนุษย์และสิ่งรอบตัว ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-28 สิงหาคม ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยนำเสนอข้อมูลผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์มือถือที่มีต่อสุขภาพ เพื่อให้ผู้ใช้ตระหนักถึงอันตรายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ปัจจุบันประชากรกว่า 1.4 พันล้านคนทั่วโลกพกพาโทรศัพท์มือถือ ขณะที่ในประเทศไทยมีผู้ใช้กว่า 20 ล้านคน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น แต่การใช้โทรศัพท์มือถือแนบหูครั้งละนานๆ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้ โดยในระยะสั้นจะมีอาการปวดหู ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว มึนงง ขาดสมาธิ และเกิดความเครียดนอนไม่หลับ ส่วนผลในระยะยาว อาจทำให้เกิดโรคความจำเสื่อม โรคมะเร็งสมอง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น

ดังนั้น เพื่อป้องกันอันตรายในอนาคต ผู้ใช้มือถือควรใช้แต่ละครั้งให้น้อยลง ใช้อุปกรณ์หูฟังทุกครั้ง เพราะจะทำให้ได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าน้อยลง หลีกเลี่ยงการใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ เพราะคลื่นแม่เล็กไฟฟ้าจะผ่านกะโหลกศีรษะของเด็กเข้าสู่เยื่อสมองได้ลึกกว่าของผู้ใหญ่ ไม่ใช้มือถือในขณะขับรถ เพราะทำให้ขาดสมาธิและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย หลีกเลี่ยงการใช้ในขณะเติมน้ำมันรถยนต์ เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้

สำหรับหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบ ควรจะให้ข้อมูลข่าวสารทางวิชาการที่ถูกต้อง และทันเหตุการณ์กับประชาชน เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการใช้โทรศัพท์มือถือ รวมทั้งมีมาตรการควบคุมอันตรายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศไทย มีประสิทธิภาพในอนาคต

อ้างอิงข้อมูลจาก http://hitech.sanook.com/mobile/news_06524.php

การตื่นตัว ป้องกัน และแก้ไข ก่อนจะสาย จากภัยเงียบจากเสาสัญญาณโทรศัพท์ (ใกล้บ้าน)

ผู้ดีร้องบ.มือถือถอนเสาสัญญาณเหตุกลัวมะเร็งจัด
หนังสือ พิมพ์เดอะเดลี่เทเลกราฟฉบับออนไลน์รายงานว่าชุมชนแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ ได้ออกมาเรียกร้องให้ทำการถอนเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่ติดตั้งอยู่ใน ชุมชนแห่งนั้นมาร่วม 7 ปีออกไปเสียเนื่องจากสงสัยว่าเสาสัญญาณมือถือดังกล่าวจะเป็นต้นเหตุทำให้คน ในชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้ ๆ จำนวน 34 คนป่วยเป็นมะเร็ง

กทช.ชี้คลื่นมือถือก่อมะเร็ง สั่งย้ายเสาสัญญาณพ้นชุมชน
มติที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)กทช. ได้มีมติให้เจ้าของเสาสัญญาณเข้าชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงในเรื่องการย้ายเสาสัญญาณ ขณะที่ทางเจ้าของเสาสัญญาณของทุกบริษัทมีความยินยอมที่จะย้ายเสาสัญญาณ แต่ต้องขอเวลาในการหาสถานที่ในการติดตั้งเสาสัญญาณใหม่ก่อน เนื่องจากต้องดูสถานที่ที่เหมาะสมที่จะสามารถให้ผู้ใช้ได้รับสัญาณที่ชัดเจน และจะไม่ส่งผลกระทบตามมาภายหลังในเรื่องของสัญาญาณมือถือและวิทยุ"

บทความวิชาการ-ผลกระทบจากเสาส่งสัญญาณโทรคมนาคม
บางคนอาจดีใจเมื่อมีเสาสัญญาณมาตั้งอยู่ใกล้บ้าน เพราะทำให้มั่นใจได้ว่า จะได้ใช้บริการมือถือด้วยสัญญาณที่เต็มเปี่ยม ทำให้สื่อสารกันได้ชัดเจนแน่นอน แต่หารู้ไม่ว่า เสาส่งสัญญาณมือถือเหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง เป็นที่ความเข้าใจตรงกันว่าเทคโนโลยีมีทั้งคุณและโทษ ....จากรายงาน การวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ในหลายประเทศ พบว่า ประชาชนที่อยู่ใกล้เสาสัญญาณโทรศัพท์ ในรัศมี 400 เมตร มีความเสียงค่อนข้างสูงที่จะเกิดอาการปกติ เช่น เวียนหัว คลื่นไส้ ความจำเสื่อม นอนไม่หลับ ชักกระตุก หากเด็กที่ได้รับคลื่นมือถือเกินขนาด มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวถึง 2 เท่าตัว นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพอื่นๆ

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมต่อได้ที่ http://phayao2011.blogspot.com/2011/04/blog-post.html

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

คลื่น... มลพิษชนิดใหม่

การใช้งานคลื่นวิทยุ

คลื่นวิทยุมีช่วงความถี่ตั้งแต่ประมาณ 10 กิโลเฮิรตซ์ ถึง 300 จิกะเฮิรตซ์ ถูกนำไปใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคมด้านต่าง ๆ สรุปดังตาราง 1
ตาราง 1 คลื่นวิทยุความถี่ต่าง ๆ และการใช้งาน
ความถี่ (ชื่อ) ความยาวคลื่น การใช้งาน
ต่ำกว่า 30 kHz (VLF) มากกว่า 10 km ใช้สื่อสารทางทะเล
30 - 300 kHz (LF) 1- 10 km ใช้สื่อสารทางทะเล
0.3-3 MHz (MF) 0.1-1 km ใช้ส่งคลื่นวิทยุระบบเอเอ็ม
3-30 MHz (HF) 10-100 m ใช้ส่งวิทยุคลื่นสั้นสื่อสารระหว่างประเทศ
30-300 MHz (VMF) 1-10 m ใช้ส่งคลื่นวิทยุระบบเอฟเอ็มและคลื่นโทรทัศน์
0.3-3 GHz (VHF) 10-100 cm ใช้ส่งคลื่นโทรทัศน์และไมโครเวฟ
3-30 GHz (SHF) 1-10 cm ใช้ส่งไมโครเวฟและเรดาร์
30-300 GHz (EHF) 1-10 mm ใช้ส่งไมโครเวฟ

ปัจจุบันประเทศทั่วโลกใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อสื่อสารกันอย่างแพร่หล าย เฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูงนั้น มีสถานีโทรทัศน์กว่า 1,000 สถานี สถานีวิทยุ 8,000 สถานี เครื่องรับส่งวิทยุ 40 ล้านเครื่อง จานส่งและรับสัญญาณไมโครเวฟกว่า 250,000 จาน และอุปกรณ์ไมโครเวฟที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเตาไมโครเวฟที่ใช้ในบ้านเรือน อีกกว่า 40 ล้านเครื่อง อุปกรณ์เหล่านี้ผลิตและส่งกระจายคลื่นวิทยุออกสู่บรรยากาศตลอดเวลา โดยที่ประสาทสัมผัสของมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้

ผลของคลื่นวิทยุที่มีต่อร่างกาย
คลื่นวิทยุสามารถทะลุเข้าไปในร่างกายมนุษย์ได้ลึกประมาณ 1/10 ของความยาวคลื่นที่ตกกระทบ และอาจทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะภายในบางชนิดได้ ผลการทำลายจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความเข้ม ช่วงเวลาที่ร่างกายได้รับคลื่นและชนิดของเนื้อเยื่อ อวัยวะที่มีความไวต่อคลื่นวิทยุ ได้แก่ นัยน์ตา ปอด ถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะ อัณฑะ และบางส่วนของระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะนัยน์ตา และอัณฑะ เป็นอวัยวะที่อ่อนแอที่สุดเมื่อได้รับคลื่นวิทยุช่วงไมโครเวฟ
คลื่นวิทยุช่วงความถี่ต่าง ๆ อาจมีผลต่อร่างกายดังนี้
1. คลื่นวิทยุที่มีความถี่น้อยกว่า 150 เมกะเฮิรตซ์ (มีความยาวคลื่นมากกว่า 2 เมตร) คลื่นจะทะลุผ่านร่างกายโดยไม่ก่อให้เกิดผลใด ๆ เนื่องจากไม่มีการดูดกลืนพลังงานของคลื่นไว้ ร่างกายจึงเปรียบเสมือนเป็นวัตถุโปร่งใสต่อคลื่นวิทยุช่วงนี้
2. คลื่นวิทยุที่มีความถี่ระหว่าง 150 เมกะเฮิรตซ์ ถึง 1.2 จิกะเฮิรตซ์ (มีความยาวคลื่นระหว่าง 2.00 ถึง 0.25 เมตร) คลื่นวิทยุช่วงนี้สามารถทะลุผ่านเข้าไปในร่างกายได้ลึกประมาณ 2.5 ถึง 20 เซนติเมตร เนื้อเยื่อของอวัยวะภายในบริเวณนั้นจะดูดกลืนพลังงานของคลื่นไว้ถึงร้อยละ 40 ของพลังงานที่ตกกระทบ ทำให้เกิดความร้อนขึ้นในเนื้อเยื่อ โดยที่ร่างกายไม่สามารถรู้สึกได้ ถ้าร่างกายไม่สามารถกระจายความร้อนออกไปในอัตราเท่ากับที่รับเข้ามา อุณหภูมิหรือระดับความร้อนของร่างกายจะสูงขึ้น เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อร่างกาย ความร้อนในร่างกายที่สูงกว่าระดับปกติอาจก่อให้เกิดผลหลายประการ เช่น
- เลือดจะแข็งตัวช้ากว่าปกติ ผลอันนี้ถ้ามีการเสียเลือดเกิดขึ้น อาการจะมีความรุนแรง
- การหมุนเวียนของเลือดเร็วขึ้น
- ฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงจะมีความจุออกซิเจนลดลง ทำให้เลือดมีออกซิเจนไม่เพียงพอเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ เมื่อเนื้อเยื่อขาดออกซิเจนจะทำให้เซลล์สมอง ระบบประสาทส่วนกลางและอวัยวะภายในขาดออกซิเจนด้วย อาจทำให้มีการกระตุกของกล้ามเนื้อจนถึงชัก ถ้าสภาพเช่นนี้ดำเนินต่อไป ผลที่ตามมาก็คือ ไม่รู้สึกตัวและอาจเสียชีวิตได้
3. คลื่นวิทยุที่มีความถี่ระหว่าง 1-3 จิกะเฮิรตซ์ (มีความยาวคลื่นระหว่าง 30 ถึง 10 เซนติเมตร) ทั้งผิวหนังและเนื้อเยื่อลึกลงไปดูดกลืนพลังงานได้ราวร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 100 ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อเยื่อ คลื่นวิทยุเช่นนี้เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อนัยน์ตา โดยเฉพาะเลนส์ตาจะมีความไวเป็นพิเศษต่อคลื่นวิทยุความถี่ประมาณ 3 จิกะเฮิรตซ์ เพราะเลนส์ตามีความแตกต่างจากอวัยวะอื่นตรงที่ไม่มีเลือดมาหล่อเลี้ยงและไม่มีกลไกซ่อมเซลล์ ดังนั้นเมื่อนัยน์ตาได้รับคลื่นอย่างต่อเนื่องจะทำให้ของเหลวภายในตามีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยไม่สามารถถ่ายโอนความร้อนเพื่อให้อุณหภูมิลดลงได้เหมือนเนื้อเยื่อของอวัยวะอื่น ๆ จึงจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงตามมา พบว่าถ้าอุณหภูมิของตาสูงขึ้นเซลล์เลนส์ตาบางส่วนอาจถูกทำลายอย่างช้า ๆ ทำให้ความโปร่งแสงของเลนส์ตาลดลง ตาจะขุ่นลงเรื่อย ๆ ในที่สุดจะเกิดเป็นต้อกระจก สายตาผิดปกติ และสุดท้ายอาจมองไม่เห็น
4. คลื่นวิทยุที่มีความถี่ระหว่าง 3-10 จิกะเฮิรตซ์ (มีความยาวคลื่นระหว่าง 10 ถึง 3 เซนติเมตร) ผิวหนังชั้นบนสามารถดูดกลืนพลังงานมากที่สุด เราจะรู้สึกว่าเหมือนกับถูกแสงอาทิตย์
5. คลื่นวิทยุที่มีความถี่สูงกว่า 10 จิกะเฮิรตซ์ (มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 3 เซนติเมตร) ผิวหนังจะสะท้อนให้กลับออกไป โดยมีการดูดกลืนพลังงานเล็กน้อย
ผลของคลื่นวิทยุต่อร่างกายโดยสรุป แสดงในตาราง 2

ตาราง 2 ผลของคลื่นวิทยุต่อร่างกาย
ความถี่ ความยาวคลื่น (m) บริเวณสำคัญ
ที่อาจเกิดอันตราย
ผลที่เกิดขึ้น
น้อยกว่า 150 MHz มากกว่า 2.00 - ทะลุผ่านร่างกายโดยไม่มีการดูดกลืน
150 MHz - 1.2 GHz 2.00-0.25 อวัยวะในร่างกาย เกิดความร้อนบริเวณใต้ผิวหนัง และอวัยวะภายใน
1-3 GHz 0.30-0.10 เลนส์ตา เป็นอันตรายต่อเลนส์ตาทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น
3-10 GHz 0.10-0.03 เลนส์ตาและผิวหนัง รู้สึกร้อนที่ผิวหนัง เหมือนถูกแสงอาทิตย์
มากกว่า 10 GHz น้อยกว่า 0.03 ผิวหนัง สะท้อนที่ผิวหนัง หรือถูกดูดกลืนน้อยมาก

เคยมีรายงานทางการแพทย์เมื่อ พ.ศ. 2495 ว่ามีผู้ป่วยเป็นต้อกระจกจากไมโครเวฟ ผู้ป่วยเป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคทำงานเป็นเวลา 1 ปี ในบริเวณที่มีเครื่องกำเนิดไมโครเวฟความถี่ 1.5-3 จิกะเฮิรตซ์ ที่ระดับความเข้ม 100 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร
ในการทดลองกับสัตว์ นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองฉายคลื่นวิทยุช่วงไมโครเวฟความเข้ม 100 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร ไปที่ตาของกระต่าย พบว่าใน 1 ชั่วโมงต่อมา ของเหลวภายในลูกกระตากระต่ายมีอุณหภูมิสูงถึง 43 องศงเซลเซียส อีก 1 สัปดาห์ต่อมากระต่ายตัวนั้นตาบอด ส่วนในการทดลองกับหนูตัวผู้จำนวน 200 ตัว โดยให้หนูไปอยู่ใกล้เรดาร์ เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งพบว่าหนูร้อยละ 40 เป็นหมัน เนื่องจากเนื้อเยื่อของอัณฑะถูกทำลาย และหนูอีกร้อยละ 35 เซลล์เม็ดเลือดแดงจะพัฒนาเป็นมะเร็งต่อไป

มาตรฐานความปลอดภัย
นับตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่นสหรัฐอเมริกา มีการพัฒนาและใช้อุปกรณ์ไมโครเวฟกันเป็นจำนวนมาก ทั้งในกิจการทหารและพลเรือน จึงได้มีการศึกษาผลของไมโครเวฟที่มีต่อร่างกาย โดยเริ่มในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และ มีรายงานในปี พ.ศ. 2496 ว่า คลื่นวิทยุช่วงไมโครเวฟเริ่มมีผลต่อร่างกายที่ระดับความเข้มตั้งแต่ 100 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตรขึ้นไป จึงมีการกำหนดระดับความเข้มปลอดภัยไว้ที่ 10 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร ต่ำกว่าระดับอันตราย 10 เท่า อย่างไรก็ตาม บางประเทศได้กำหนดระดับความเข้มปลอดภัยไว้ต่ำมาก เช่น คานาดา และสวีเดน กำหนดไว้ 1 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร โปแลนด์ 0.2 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร เท่านั้น
สำนักงานสาธารณสุขด้านรังสีของสหรัฐอเมริกาได้ทำการทดลองวัดระดับความเข้มของคลื่นวิทยุที่กรุงวอชิงตันดีซี พบว่าระดับความเข้มของคลื่นที่วัดได้มีค่าเพียง 0.10 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานถึง 1,000 เท่า ค่าที่วัดได้นี้ได้มาจากบริเวณใกล้ ๆ สถานีวิทยุกระจายเสียงและสนามบินที่ใช้เรดาร์กำลังสูง ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าในเขตชุมชนที่เป็นที่อยู่อาศัยต้องมีระดับความเข้มต่ำกว่า 0.01 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตรมากทีเดียว

บทสรุป
อันตรายจากคลื่นวิทยุที่กล่าวมาข้างต้นนั้น อยากจะเน้นว่าจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่ทำงานใกล้ชิดหรือได้สัมผัสกับคลื่นที่มีความเข้มสูงและต่อเนื่องเป็นเวลานานเท่านั้น ซึ่งคล้ายกับผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับรังสี ย่อมมีโอกาสได้รับอันตรายมากกว่าคนทั่วไป อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมนุษย์ใช้คลื่นวิทยุในการสื่อสารกันอย่างมาก ทำให้ในบรรยากาศและตัวเราถูกปกคลุมและห่อหุ้มด้วยคลื่นวิทยุมากขึ้น ถ้าสมมติว่าตาสามารถตรวจจับคลื่นวิทยุได้ ก็คงจะเห็นคลื่นวิทยุเหล่านี้ทั้งห่อหุ้มและทะลุผ่าน รวมทั้งถูกดูดกลืนโดยร่างกายตลอดเวลา แต่มนุษย์ยังโชคดีที่ระดับความเข้มของคลื่นวิทยุในบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมมีค่าต่ำมากไม่เป็นอันตรายใด ๆ ทั้งสิ้นต่อร่างกาย สำหรับในประเทศไทยคงไม่ต้องห่วงอันตรายจากคลี่นวิทยุ เพราะมีอุปกรณ์และเครื่องมือผลิตและส่งกระจายคลื่นวิทยุน้อยกว่าในประเทศพัฒนาแล้วมากมาย แต่เมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มในอนาคตแล้ว ก็อดเป็นห่วงไม่ได้ว่าสักวันหนึ่งคลื่นวิทยุที่มีประโยชน์อย่างมหาศาลต่อมนุษย์จะกลายเป็นอันตราย หรืออาจจะเป็นมลพิษใหม่ที่สำคัญของมนุษย์ในยุคหน้าก็เป็นได้

เอกสารอ้างอิง
Warren, M.L. (1979) Introductory Physics San Francisco : Freeman.
Gannon, R. (1983) Electromagnetic Pollution are they zapping you?
Popular Science : p.96-100.
สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ (2532) หนังสือเรียนวิชาฟิสิกส์ เล่ม 6 กรุงเทพฯ โรงพิมพ์คุรุสภา
พ.ต.ท. นายแพทย์ประเวสน์ คุ้มภัย (2521) อันตรายจากการแผ่รังสีของความถี่คลื่นวิทยุ
วารสารสุขภาพของแพทยสมาคมฯ และแพทยสภา ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 หน้า 105-111.